กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1752
ชื่อเรื่อง: ผลของการเสริมสารไคโตซานในอาหารเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในบ่อดิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of Fortified Chotosan in pacific White Shrimp feed in Earthen pond
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริลักษณ์ วงส์พิเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัชรอำพล สีระคาม, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
กุ้งขาวแวนนาไม--การเลี้ยง
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมไคโตซานโดยเคลือบบนเม็ดอาหารสาเร็จรูปในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในบ่อดิน ต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร อัตราการเลี้ยงรอด คุณภาพน้า และต้นทุนค่าอาหาร ผลการศึกษา พบว่า กุ้งขาวแวนนาไมที่ได้รับการเสริมไคโตซาน ที่ระดับ 0.04% (T3) มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยสูงสุด คือ 0.170 กรัมต่อตัวต่อวัน รองลงมาคือ กลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมไคโตซาน ที่ระดับ 0.02% (T2) และกลุ่มควบคุม (T1) ที่ไม่เสริมไคโตซาน คือ มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 0.168 และ 0.143 กรัมต่อวันต่อตัว ตามลาดับ (P>0.05) ในทานองเดียวกับประสิทธิภาพการใช้อาหารของทรีตเมนต์ที่ 3 2 และ 1 มีอัตราการแลกเนื้อ 1.24 1.31 และ 1.33 ตามลาดับ (P>0.05) ทั้งนี้กุ้งขาวแวนนาไมที่ได้รับทรีตเมนต์ที่ 1 2 และ 3 มีอัตราการเลี้ยงรอดร้อยละ 82.36 79.63 และ 89.88 ตามลาดับ (P>0.05) การเสริมไคโตซานทั้งสองระดับมีผลต่อคุณภาพน้าในบ่อไม่แตกต่างไปจากกลุ่มควบคุมยกเว้นปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้า (P<0.05) ในด้านต้นทุนค่าอาหาร กลุ่มที่ได้รับการเสริมไคโตซานที่ระดับ 0.04 และ 0.02% มีต้นทุนค่าอาหาร 46.40 และ 48.71 บาทต่อผลผลิตกุ้ง 1 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ที่มีต้นทุนค่าอาหาร 49.03 บาทต่อผลผลิตกุ้ง 1 กิโลกรัม (P>0.05)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1752
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
137861.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons