กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1757
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการประชาคมเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ป่าไม้บ้านหัวทุ่ง ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Increasing operational efficiency of local sufficiency economy project in the forest area at Ban Hua Tung, Chiang Dao Sub-district, Chiang Dao, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดุสิต เวชกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัยวัฒน์ คงสม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศักดิ์สิทธิ์ ปลาสุวรรณ์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
โครงการประชาคมเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ป่าไม้--ไทย--เชียงใหม่
โครงการประชาคมเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ป่าไม้--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนที่เข้าร่วมดาเนินโครงการประชาคมเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ป่าไม้บ้านหัวทุ่ง ตาบลเชียงดาว อาเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ (2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมและความเหมาะสมต่อการดาเนินโครงการฯ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการดาเนินโครงการฯ (4) เพื่อศึกษาปัจจัยความสาเร็จและอุปสรรคต่อการดาเนินโครงการฯและ (5) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดาเนินงานโครงการฯ ผลการวิจัย พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 51-60 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาทต่อเดือน จากการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมต่อการดาเนินโครงการฯพบว่าประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดในด้านการรับผลประโยชน์ และมีส่วนร่วมน้อยที่สุดในด้านการวางแผนการดาเนินกิจกรรม ส่วนความเหมาะสมระดับมากที่สุดในด้านการติดตามและประเมินผลและน้อยที่สุดในด้านการวางแผนการดาเนินกิจกรรม จากการศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการดาเนินงานโครงการฯพบว่ามีความพึงพอใจมากที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงจากโครงการโดยรวมและน้อยที่สุดในด้านสภาพแวดล้อมก่อนการดาเนินงาน ปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จของโครงการฯคือการมีส่วนร่วมของชุมชนและเจ้าหน้าที่ รวมถึงปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน รวมถึงงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ปัญหาและอุปสรรคในการดาเนินโครงการฯนั้น มีสาเหตุมาจากการวางแผนการดาเนินงานถูกกาหนดมาจากส่วนกลางซึ่งไม่เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน ความไม่ไว้วางใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และการขาดความรู้ด้านการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก รวมถึงความไม่ต่อเนื่องของการดาเนินโครงการฯ ซึ่งแนวทางในการพัฒนาโครงการฯนั้นควรมีการดาเนินการพัฒนาต่อยอดโครงการฯที่ได้ส่งเสริมไปแล้วให้สาเร็จทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้และเกิดความยั่งยืนตลอดไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1757
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
138823.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons