กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1766
ชื่อเรื่อง: การไถกลบฟางและซังข้าวของเกษตรกร ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Rice straw and stubble ploughed up and over by farmers in Ta Khu Sub-district, Pak Thong Chai District, Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
บัณฑิต เกิดมงคล, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
การจัดการดิน--ไทย--นครราชสีมา
น--ไทย--นครราชสีมา.
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการไถกลบฟางและตอซังข้าวของเกษตรกร 3) การไถกลบฟางและตอซังข้าวของเกษตรกรและ4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการไถกลบฟางและตอซังข้าว ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.68 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการทานาเฉลี่ย 21.79 ปี เกือบครึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีพื้นที่ทาการเกษตรเฉลี่ย 29.47ไร่ พื้นที่ทาการเกษตรเป็นของตนเอง เฉลี่ย 24.96 ไร่ ส่วนใหญ่มีพื้นที่ทานาข้าวเป็นของตนเองเฉลี่ย 17.16ไร่ แรงงานในครัวเรือนทั้งหมดเฉลี่ย 3.41 แรงงานช่วยทาการเกษตรเฉลี่ย 2.31 คน มีรายได้จาการทานาเฉลี่ย 131,850 บาทต่อปี รายได้จากการทาการเกษตรอื่นเฉลี่ย 93,261.06 บาทต่อปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 57,285.32 บาทต่อปี ต้นทุนการทานาข้าวเฉลี่ย 2,968.86 บาทต่อไร่ มีรายได้จากการทานาข้าวหนึ่งครั้งในฤดูนาปี ปี 2555 เฉลี่ย 6,947.12 บาทต่อไร่ ราคาผลผลิตที่ขายได้เฉลี่ย 14.37 บาทต่อกิโลกรัม 2) เกษตรกรได้รับความรู้ในระดับน้อย ส่วนใหญ่ได้จากอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ความต้องการรับความรู้จากแหล่งความรู้เฉลี่ยในระดับปานกลาง ต้องการรับความรู้จากอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านมากที่สุด การได้รับความรู้จากกลุ่ม เกษตรกรอยู่ในระดับมาก 3) เกษตรกรเกือบสองในสามขายฟางแบบเหมาทั้งแปลงเพื่อนาไปอัดเป็นฟางก้อนจาหน่าย ใช้คลุมดินในการปลูกพืชเพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน และไม่เผาฟางและตอซังข้าวตามลาดับ เกษตรกรเกินสามในสี่ไถกลบหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ส่วนใหญ่ไถกลบแล้วหมักไว้ไม่ต่ากว่า 2 สัปดาห์ แล้วจึงทาเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งต่อไป และจ้างรถไถนั่งขับพรวนดินให้ละเอียด ด้วยผานพรวนสาหรับนาแห้ง หรือ จอบหมุนตีเทือกสาหรับนาน้า ประเด็นที่ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการไถกลบฟางและตอซังข้าว เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี ลดปัญหามลภาวะสภาพแวดล้อมและอุบัติเหตุ เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และหมุนเวียนธาตุอาหารพืชคืนสู่ดินตามลาดับ 4) เกษตรกรมีปัญหาในเรื่องค่าจ้างรถไถกลบมีราคาสูง ข้อเสนอแนะของเกษตรกรให้หน่วยที่เกี่ยวข้องจัดงานรณรงค์ไถกลบฟางและตอซังข้าวอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1766
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
139980.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons