Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1785
Title: | การจัดการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาฟาร์มนายนฤทธิ์ คำธิศรี ปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดสกลนคร |
Other Titles: | Agricultural management adhering to sufficiency economy principle : a case study of Mr.Narit Khamthisri, a folk scholar in Sakon Nakhon Province |
Authors: | สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา รตี เหงาจิ้น, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ เศรษฐกิจพอเพียง--ไทย--สกลนคร เกษตรกรรม--แง่เศรษฐกิจ--ไทย--สกลนคร |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานและสวนเกษตรของเกษตรกร 2) รูปแบบการจัดการเกษตรตามแนวทางเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร 3) ปัจจัยที่ทาให้เกษตรกรประสบความสำเร็จ 4) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิจัย พบว่า 1) นายนฤทธิ์ คาธิศรี ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดสกลนคร อายุ 50 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ มีประสบการณ์ในการทางานทั้งในภาครัฐและเอกชนมาเป็นเวลา 9 ปี ประสบการณ์ทาการเกษตรมาเป็นเวลากว่า 17 ปี มีพื้นที่ทาการเกษตร จำนวน 255 ไร่ สภาพพื้นที่เป็นดินลูกรัง ความอุดมสมบูรณ์ต่า น้ำไม่พอใช้ นายนฤทธิ์พลิกฟื้นผืนดินให้สามารถปลูกพืชได้จนประสบความสาเร็จและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง 2) ลักษณะการทาการเกษตรแบบผสมผสานไม่ใช้สารเคมี โดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีกิจกรรมปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา และป่าอนุรักษ์ การจัดการปัจจัยการผลิตใช้หลักการจัดการด้วยคุณธรรม ความรู้ ภูมิคุ้มกัน มีเหตุมีผล และพอประมาณ ระบบการผลิตใช้หลักการผสมผสานภูมิปัญญากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เน้นการพึ่งพาปัจจัยภายในฟาร์ม และคานึงถึงความปลอดภัยของตนเอง ครอบครัว ชุมชน ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม การจัดการตลาดมีการวิเคราะห์การตลาด ได้แก่ (1) แบ่งส่วนการตลาดเป็น ตลาดภายในหมู่บ้าน ตลาดท้องถิ่น และตลาดชุมชนทั่วไป (2) ตลาดเป้าหมาย ได้แก่ สหกรณ์ ตลาดในอำเภอ และตลาดในหมู่บ้าน/สวน (3) ตาแหน่งผลิตภัณฑ์ เป็นกลุ่มสินค้าคุณภาพได้มาตรฐานปลอดภัยและกลุ่มลูกค้าเฉพาะ กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วย (1) สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เป็นสินค้าอินทรีย์ มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และเป็นสินค้าอินทรีย์ที่ไม่เน้นรูปลักษณ์หรือบรรจุภัณฑ์ (2) ราคา ตามต้นทุนการผลิต และตามคุณภาพสินค้า (3) สถานที่จำหน่ายตลาดสำหรับลูกค้าที่ต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และตลาดสาหรับลูกค้าทั่วๆไป (4) การส่งเสริมการตลาด เน้นเรื่องของคุณภาพ และความมีชื่อเสียงของสินค้าอินทรีย์หรือสินค้าปลอดภัย ราคาถูก 3) ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ เกษตรกรมีการวางแผนทุกขั้นตอน มีการจัดการทรัพยากรเหมาะสมและคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการสนับสนุนและการยอมรับจากภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร 4) ข้อเสนอแนะสาหรับผู้ที่สนใจทาการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ ควรทำความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ถ่องแท้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1785 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
140600.pdf | 14.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License