กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1801
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตร จังหวัดนครพนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Work satisfaction of agricultual extensionists in Nakhon Phanom Provincial Agricultual Office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศรัณยา ชูรัตน์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร--การทำงาน
ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานบางประการของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 2) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ผลการวิจัย พบว่า (1) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 44.84 ปี สมรสแล้ว จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นผู้ปฏิบัติงานตาแหน่งชานาญงาน/ชานาญการ รายได้เฉลี่ย 29,357.98 บาท อายุการทางานเฉลี่ย 20.02 ปี (2) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมีความพึงพอใจระดับมากในภาพรวม รวมทั้งหัวข้อความภูมิใจต่อองค์กรที่สร้างประโยชน์ต่อสังคม สภาพแวดล้อมในการทางาน งานในความรับผิดชอบ ภาวะผู้นาและวัฒนธรรมในองค์กร และการสื่อสารในองค์กร ส่วนโอกาสและความก้าวหน้าทางอาชีพในองค์กร การรักษาดุลยภาพระหว่างชีวิตการทางานและชีวิตส่วนตัว และค่าตอบแทนและสวัสดิการ ความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัญหาในการปฏิบัติงานของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรอยู่ในระดับปานกลางในภาพรวม รวมทั้งหัวข้อสภาพแวดล้อมในการทางาน งานในความรับผิดชอบ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ โอกาสและความก้าวหน้าทางอาชีพในองค์กร การรักษาดุลยภาพระหว่างชีวิตการทางานและชีวิตส่วนตัว ภาวะผู้นาและวัฒนธรรมในองค์กร และการสื่อสารในองค์กร ส่วนความภูมิใจต่อองค์กรที่สร้างประโยชน์ต่อสังคมมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย มีข้อเสนอแนะด้านงานในความรับผิดชอบว่าควรมอบหมายงานโดยยึดหลักความรู้ความสามารถ ด้านสภาพแวดล้อมในการทางานควรมีอุปกรณ์ทันสมัยเพียงพอ มีการปรับปรุงสถานที่ให้สะอาดสวยงาม ด้านภาวะผู้นาและวัฒนธรรมในองค์กรควรพิจารณาแต่งตั้งผู้มีความรู้ความสามารถและปกครองโดยหลักธรรมาภิบาล ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการควรมีอย่างเพียงพอตามค่าครองชีพ ด้านโอกาสและความก้าวหน้าทางอาชีพในองค์กร ควรพิจารณาเลื่อนขั้นตามหลักเกณฑ์ ด้านการรักษาดุลยภาพระหว่างชีวิตการทางานและชีวิตส่วนตัว ไม่ควรมอบงานมากจนไม่มีเวลาให้ครอบครัว ด้านการสื่อสารในองค์กรควรสั่งการชัดเจนเข้าใจง่ายไม่เร่งด่วน และด้านความภาคภูมิใจต่อองค์กรที่สร้างประโยชน์ต่อสังคมควรมีกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1801
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
141000.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons