Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1803
Title: | การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Other Titles: | Work performance adhering to agricultural extension system of Sub- District agricultural extensionists in Surat Thani Province |
Authors: | บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา ยุพเรศ เชาว์วิทยา, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ เกษตรตำบล--การบริหาร เกษตรตำบล--ไทย--สุราษฎร์ธานี ส่งเสริมการเกษตร--ไทย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคลของเกษตรตำบล (2) ความคิดเห็นต่อความจาเป็นของเกษตรตาบล และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องของระบบส่งเสริมการเกษตร และการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบล (3) ความคิดเห็นของเกษตรตำบลและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องต่อการนำระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ MRCF ไปใช้ปฏิบัติงานในพื้นที่ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรตำบลและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องต่อระบบส่งเสริมการเกษตร ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคลของเกษตรตาบล จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี เดือนเฉลี่ย 23,035.26 บาท และประสบการณ์ในการทำงานเฉลี่ย 13.92 ปี ส่วนมากเกษตรตำบล 1 คนต้องรับผิดชอบ 2 ตาบล ระยะทางไปปฏิบัติงานในพื้นที่เฉลี่ย 22.64 กิโลเมตร ใช้รถยนต์ของตนเองเดินทางไปทางานในพื้นที่ที่รับผิดชอบ พื้นที่ทำงานและภูมิลำเนาส่วนใหญ่ อยู่ในพื้นที่อำเภอและจังหวัดเดียวกัน (2) ความคิดเห็นต่อความจำเป็นของเกษตรตำบลต่อระบบการปฏิบัติงานในพื้นที่ ด้านการปฏิบัติงานของสำนักงานเกษตรอำเภอ ด้านศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเป็นกลไกหลัก ด้านงานส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน ด้านการจัดเก็บข้อมูล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และบทบาทหน้าที่ของเกษตรตำบล ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความคิดเห็นต่อระบบสนับสนุนในด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ ของเกษตรตำบล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการวางแผนทั้งเกษตรตาบลและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการประชุม/สัมมนา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ความคิดเห็นของเกษตรตำบลในภาพรวม ต่อการนำระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ MRCF ไปใช้ปฏิบัติงานในพื้นที่ มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมีความเห็นด้วยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4) ปัญหาของเกษตรตำบล ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และปัญหาของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับข้อเสนอแนะ ควรเพิ่มอัตรากำลังเกษตรตำบลให้เหมาะสมกับจำนวนพื้นที่ที่รับผิดชอบ เกษตรตำบลควรใช้รถยนต์สำนักงาน ควรมีคอมพิวเตอร์เพียงพอให้เกษตรตำบลใช้ในการปฏิบัติงาน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1803 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
141013.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License