Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1806
Title: การจัดการการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ของเกษตรกรในอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: Nam Dok Mango production management by farmaers in Wang Thong District Phitsanulok Province
Authors: พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธัญลักษณ์ ตาสุข, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มะม่วงน้ำดอกไม้--การผลิต
เกษตรกร--ไทย--พิษณุโลก
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร ผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ 2) การจัดการการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการจัดการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ ผลการศึกษา พบว่า 1) เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.97 ปี ส่วนใหญ่ จบชั้นประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.99 คน แรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.33 คน ประสบการณ์ในการปลูกมะม่วงเฉลี่ย 8.52 ปี มีแหล่งเงินทุนเป็นของตนเอง เหตุผลที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้เพราะจำหน่ายได้ราคาดี และส่วนใหญ่ไม่เคยเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ตามระบบเกษตรีที่เหมาะสม มีการปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองเฉลี่ย 8.09 ไร่ มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4 เฉลี่ย 5.54 ไร่ และมะม่วงพันธุ์อื่นๆ เฉลี่ย 3.24 ไร่ มีการผลิตมะม่วงทั้งในฤดูและนอกฤดู ส่วนใหญ่ปลูกมะม่วงด้วยวิธีการทาบกิ่ง การให้น้ำอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ชนิดดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย มีระยะปลูก 6x6 เมตร เกษตรกรทุกคนมีการตัดแต่งกิ่งและจัดทรงพุ่ม วัตถุประสงค์เพื่อให้มะม่วงออกดอกและติดผลทุกปี มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารสังเคราะห์เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิต แมลงที่ทาความเสียหายมาก คือ เพลี้ยไฟ โรคที่สาคัญที่ทาลายผลผลิต คือ โรคแอนแทรคโนส มีวิธีการป้องกันกำจัดโรคและแมลงโดยการใช้สารเคมี ห่อผลมะม่วงด้วยถุงคาร์บอน ส่วนใหญ่มะม่วงมีการติดผลทุกปี มีการคัดเกรดมะม่วงก่อนการจำหน่าย โดยมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ ขายมะม่วงได้ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21–40 บาท และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่สามารถผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ได้คุณภาพตามมาตรฐานเพื่อการส่งออก 3) ปัญหาของเกษตรกร ได้แก่ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น สภาพภูมิอากาศมีความแปรปรวน ไม่สามารถกำหนดราคาและถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ข้อเสนอแนะของเกษตรกร ได้แก่ แนะนาวิธีการลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมและอบรมเรื่องการผลิต มะม่วงน้ำดอกไม้ให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน และควรมีการวางแผนการผลิตให้มะม่วงเก็บเกี่ยวได้ในช่วงที่ตลาดต้องการ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1806
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
141029.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons