กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1807
ชื่อเรื่อง: แนวทางการจัดการการผลิตพริกตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for chili production management adhering to good agricultural practice for farmaers at Hua Ruea Sub-District in Mueang District of Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุดาทิพย์ รันคำภา, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
พริก--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เกษตรกร--ไทย--อุบลราชธานี
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพริกแบบ GAP ในตาบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2) การจัดการการผลิตพริกของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพริกแบบ GAP ในตาบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 3) ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการผลิตพริกของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพริกแบบ GAP ในตาบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรผู้ผลิตพริกมากกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง อำยุเฉลี่ย 49.56 ปี จบประถมศึกษาตอนปลาย สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.03 คน ประกอบอาชีพทำนา ประสบการณ์ผลิตพริกเฉลี่ย 12.5 ปี ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สิ่งจูงใจปลูกพริกคือรายได้ แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.24 คน แรงงานจ้างเฉลี่ย 2.80 คน พื้นที่ปลูกพริกเฉลี่ย 1.73 ไร่ ต้นทุนปลูกพริกเฉลี่ย 8,750 บาท/ไร่ รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 125,460 ส่วนใหญ่การปลูกพริกใช้เงินทุนของตัวเอง 2) การจัดการการผลิต พบว่า เกษตรกรมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับพืช ในระดับมากถึงมากที่สุดในด้านแหล่งปลูก พื้นที่ปลูก พันธุ์พริกที่ใช้ การปลูกพริก การดูแลรักษา สุขลักษณะหรือความสะอาด การควบคุมศัตรูพริก การเก็บผลผลิตและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว 3) ปัญหาในการผลิตพริก พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาด้านสภาพพื้นที่ปลูก ด้านโรคและแมลงศัตรูพืช ด้านต้นทุนการผลิต ด้านเงินทุน ด้านราคา และด้านความรู้เทคโนโลยีการผลิต 4) แนวทางในการพัฒนาการผลิตพริก ได้แก่ (1) การพัฒนาความรู้ด้านการผลิตและการตลาดพริก (2) การฟื้นฟูสภาพดิน (3) การเพิ่มปริมาณผลผลิต (4)การลดต้นทุนการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ปลอดภัย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1807
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
141030.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons