กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1834
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงกลาโหม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationships between participatory management of head nurses and job satisfaction of professional nurses at Hospitals under the Ministry of Defense
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภัทรา เอื้อวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
แพรวผกาย จรรยาวิจักษณ์, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
พยาบาล -- ความพอใจในการทำงาน
โรงพยาบาล -- การบริหารงานบุคคล
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการบริหาร แบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย (2) ระดับความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับความพึงพอใจ ในงานตามการรับรู้ของ พยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ พยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยของ โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 335 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ความคิดเห็น เกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วยและความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจ ในงานตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.86 และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่า เท่ากับ 0.95 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติรัอยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสัทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน วิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายและวิเคราะห์การ ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรทีละขั้นนตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของ พยาบาลประจำการ 2) ความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลสังกัด กระทรวงกลาโหม อยู่ในระดับมาก และ 3) การบริหารแบบมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยการ บริหารแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วยสามารถพยากรณ์ความพึงพอใจในงานของพยาบาล ประจำการได้รัอยละ 27.90 เมื่อวิเคราะห์รายด้านพบว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านการมีส่วนร่วม ในการทำใหัองค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงและด้านการมีส่วนร่วมในการตั้งวัตถุประสงค์สามารถร่วมกัน พยากรณ์ความพึงพอใจในงานได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1834
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib109956.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons