Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1836
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการจัดการด้านการส่งต่อผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชน เขต 1 |
Other Titles: | Factors affecting satisfaction with the referral management of professional nurses at community hospitals, Region 1 |
Authors: | อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข, อาจารย์ที่ปรึกษา วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล, อาจารย์ที่ปรึกษา สุพิณญา ทองจันทร์, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ พยาบาลวิชาชีพ -- ความพอใจในการทำงาน โรงพยาบาล -- การรับและการจำหน่ายผู้ป่วย |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ บทบาทหน้าที่ด้านกระบวนการส่งต่อผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ สัมพันธภาพในการทำงานด้านการส่งต่อผู้ป่วย และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการจัดการด้านการส่งต่อผู้ป่วย โรงพยาบาลชุมชน เขต 1 (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้บทบาทหน้าที่ด้านกระบวนการส่งต่อผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ และสัมพันธภาพในการทำงานด้านการส่งต่อผู้ป่วย และ (3) ตัวแปรพยากรณ์ที่ร่วมกันทำนายความพึงพอใจของ พยาบาลวิชาชีพ ต่อการจัดการด้านการส่งต่อผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขต 1 จำนวน 322 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบ เกาะกลุ่มสุ่ม 2 ชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน คึอ ข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้บทบาท หน้าที่ด้านกระบวนการส่งต่อผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ สัมพันธภาพในการทำงานด้านการส่งต่อผู้ป่วย และความ พึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ต่อการจัดการด้านการส่งต่อเผู้ป่วย แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหา และวิเคราะห์หาความเที่ยงได้เท่ากับ 0.91,0.96 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอย พหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ด้งนี้ (1) พยาบาลวิชาชีพ ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ประสบการณ์การทำงานด้านการส่งต่อผู้ป่วยอยู่ระหว่าง 10- 15 ปี การรับรู้บทบาทหน้าที่ด้านกระบวนการส่งต่อ ผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ สัมพันธภาพในการทำงานด้านการส่งต่อผู้ป่วย และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ต่อการจัดการด้านการส่งต่อผู้ป่วยอยู่ในระดับมาก (2) การรับรู้บทบาทหน้าที่ด้านกระบวนการส่งต่อผู้ป่วยของ พยาบาลวิชาชีพ และสัมพันธภาพในการทำงานด้านการส่งต่อผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับ ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการจัดการด้านการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.01 และ (3) ตัวแปรที่ร่วมทำนายความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการจัดการด้านการส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับดังนี้ สัมพันธภาพในการทำงานด้านการส่งต่อผู้ป่วยและการรับรู้บทบาทหน้าที่ ด้านกระบวนการส่งต่อผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ โดยร่วมกันทำนายได้รัอยละ 22.7 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1836 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib110006.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License