กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1852
ชื่อเรื่อง: บทบาทอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในการส่งเสริมการเกษตร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The roles of Village Agricultural Volunteers on agricultural extension work in Mueang District of Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กัณณิดา บุญยิ่ง, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--นครศรีธรรมราช
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคลทางเศรษฐกิจและสังคมของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (2) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทในงานส่งเสริมการเกษตรของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (3) ความคิดเห็นและความพึงพอใจของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทในงานส่งเสริมการเกษตร (4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ผลการวิจัยพบว่า (1) อกม.ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.92 ปี จบประถมศึกษา อาชีพหลักคือ เกษตรกรรม มีอาชีพเสริมคือค้าขายและรับจ้าง มีรายได้ภาคการเกษตรของครัวเรือน/ปี เฉลี่ย 203,000 บาท รายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 106,000 บาท/ปี รายได้รวมทั้งหมดของครัวเรือน/ปี เฉลี่ย 307,000 บาท ขนาดพื้นที่ทาการเกษตรทั้งหมด เฉลี่ย 22.8 ไร่ ขนาดพื้นที่ทาการเกษตรของตนเองเฉลี่ย 18.30 ไร่ ขนาดพื้นที่เช่า เฉลี่ย 4.52 ไร่ แรงงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 2.68 คน แรงงานชายเฉลี่ย 1.62 คน แรงงานหญิงเฉลี่ย 1.07 คน การดำรงตำแหน่งทางสังคมส่วนใหญ่ดารงตาแหน่งคณะกรรมการหมู่บ้าน การปฏิบัติงานโดยเฉลี่ย 2.87 ปี เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส. การเข้ามาเป็น อกม.มาจากผู้นาชุมชนเป็นผู้คัดเลือก สาเหตุที่มาทาหน้าที่ อกม.ส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร และได้เข้ารับการอบรม มีบางส่วนที่ได้ไปทัศนศึกษาดูงาน การจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรส่วนใหญ่จะมีการประชาสัมพันธ์ การรับทราบข้อมูลทางการเกษตรจากสื่อ บุคคล และการเข้าร่วมกิจกรรม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง อกม.ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท อกม. ในประเด็น อกม เป็นตัวแทนของเกษตกรแต่ละหมู่บ้าน (2) ความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ โดยส่วนใหญ่ตอบถูก 10 -12 ข้อจากจานวนคาถามทั้งหมด 15 ข้อ (3) ความคิดเห็นต่อความจาเป็นในการปฏิบัติงานและความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานจริงของ อกม. ทั้ง 2 ประเด็นอยู่ในระดับมาก และส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (4) ระดับปัญหา/อุปสรรคในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะให้มีค่าตอบแทนเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ขอให้เจ้าหน้าที่อธิบายแบบฟอร์มให้ชัดเจนเพื่อความถูกต้องในการเก็บข้อมูลและควรจัดให้มีการอบรม ทัศนศึกษาดูงานในต่างพื้นที่เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานให้มีการถ่ายทอดความรู้หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับ อกม. การบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการปฏิบัติงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1852
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
142736.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons