กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1859
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างอุปนิสัยเชิงรุก ความสามารถในการปฏิบัติบทบาทของหัวหน้าผู้ป่วยกับประสิทธิผลของการพยาบาลในหอผู้ป่ายตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลรัฐ ระดับตติยภูมิ เขต 15 และ 17
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between proactive habits, the abillity of head nurses in role performance, and nursing effectiveness of patient units as perceived by staff nurses of governmental hospitals at tertiary care units in Regions 15 and 17
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัชราพร เชยสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนวรรณ สุกสิ, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
พยาบาล -- ภาระงาน
พยาบาลกับผู้ป่วย
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อุปนิสัยเชิงรุก ความสามารถในการปฏิบัติ บทบาทของหัวหน้าหอผู้ป่วย และประสิทธิผลการพยาบาลของหอผู้ป่วย และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างอุปนิสัย เชิงรุก ความสามารถในการปฏิบัติบทบาทของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับประสิทธิผลของการพยาบาลของหอผู้ป่วย โรงพยาบาลรัฐ ระดับตติยภูมิ เขต 15 และ 17 กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลประจำการโรงพยาบาลรัฐ ระดั บตติยภูมิ ในเขต 15 และ 17 ซึ่งได้จาก การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ แบบสอบถาม เกี่ยวกับอุปนิสัยเชิงรุก ความสามารถในการปฏิบัติบทบาทของหัวหน้าหอผู้ป่วย และ ประสิทธิผลการพยาบาทของหอผู้ป่วย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อทำจากผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.98, 0.99 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาบ และค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) หัวหนัาหอผู้ป่วย มีอุปนิสัยเชิงรุก ทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง มีความสามารถในการปฏิบัติบทบาทโดยรวมอยู่ในระดับสูง ยกเว้นดัานวิจัยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วน ประสิทธิผลการพยาบาลของหอผู้ป่วย พบว่าทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง 2) อุปนิสัยเชิงรุก ของ หัวหนัาหอผู้ป่วย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 (r = 0.69) และ ความสามารถในการปฏิบัติบทบาทของหัวหน้าที่ผู้ป่วย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการพยาบาทของหอผู้ป่วย ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.77) ดังนั้นจึงควรพัฒนาหัวหน้าหอผู้ป่วยให้มีความสามารถในการปฏิบัติบทบาทของหัวหน้าหอผู้ป่วย และอุปนิสัยเชิงรุก เพื่อส่งผลให้เกิดประสิทธิผลการพยาบาลของหอผู้ป่วยที่ดีเพิ่มขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1859
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib114924.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons