กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1874
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำชั้นยอดของหัวหน้าพยาบาลกับความเป็นองค์กรแห่งสถิติปัญญาของกลุ่มการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between super-leadership of nursing directors and intelligent organization of nursing departments as perceived by professional nurses at community hospitals in the Southern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณี ตปนียากร, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญสิตา นววัชรินทร์, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
พยาบาลวิชาชีพ -- ไทย -- ภาคใต้
โรงพยาบาลชุมชน -- ไทย (ภาคใต้)
การรับรู้
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับภาวะผู้นำชั้นยอดของ หัวหน้าพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ (2) ระดับความเป็นองค์กรแห่งสติปัญญาของกลุ่ม การพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำชั้นยอดของ หัวหน้าพยาบาลกับความเป็นองค์กรแห่งสติปัญญาของกลุ่มการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาล วิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน ภาคใต้ ที่ปฏิบัติงานภายใต้การบังคับบัญชาของหัวหน้าพยาบาลคนปัจจุบันตั้งแต่, 1 ปีขื้นไป จำนวน 335 คน ได้มาจาก การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามภาวะผู้นำชั้นยอดของ หัวหน้าพยาบาล และส่วนที่ 3 แบบสอบถามความเป็นองค์กรแห่งสติปัญญาของกลุ่มการพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่า สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ของส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 เท่ากับ 0.99 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ภาวะผู้นำชั้นยอดของหัวหน้าพยาบาลตามการรับรู้ของ พยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (2) ความเป็นองค์กรแห่งสติปัญญาของกลุ่มการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (3) ภาวะผู้นำชั้นยอดของหัวหน้าพยาบาล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเป็นองค์กรแห่งสติปัญญาของกลุ่มการพยาบาลในระดับสูงมาก (r = 0.840) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1874
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib114928.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons