Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1877
Title: ภาวะความเครียดในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: Stress conditions during COVID-19 crisis of health personnel in Pran Buri District, Prachuab Khiri Khan Province
Authors: ธีระวุธ ธรรมกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทรงวุฒิ ชนะอุดมสุข, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
บุคลากรทางการแพทย์--ความเครียดในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัญหาส่วนบุคคล (2) ภาวะความเครียด และ (3) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ปัญหาส่วนบุคคลต่อภาวะความเครียดของบุคลากรสาธารณสุขในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในช่วงวิกฤตโควิค-19 ของประเทศไทย ศึกษาในบุคลากรสาธารณสุขในอำเภอปราณบุรี ทั้งในโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุข อำเภอและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวนกลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 295 คน ใช้เครื่องมือในการศึกษาเป็นแบบประเมินความเครียด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแบบประเมินภาวะสุขภาพจิตของบุคลากรสาธารณสุขในภาวะวิกฤตโควิด-19 ในการสํารวจของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2553 ถึง 15 พฤษภาคม 2563 ซึ่งมีการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล สถานภาพเป็นข้าราชการ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อายุการทํางานน้อยกว่า 10 ปี ปัญหาส่วนบุคคลที่ก่อให้เกิดความเครียด พบว่า ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากปัญหาเศรษฐกิจมากที่สุด รองลงมาคือ ปัญหาการทำงาน ปัญหาสุขภาพ และปัญหาครอบครัว ตามลำดับ (2) บุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเครียดน้อย รองลงมาคือ เครียดปานกลาง และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะความเครียดในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขในอำเภอปราณบุรีจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในช่วงวิกฤตโควิค-19 ในประเทศไทย คือ อายุ ปัญหาสุขภาพ และปัญหาการทำงาน มีอิทธิพลต่อภาวะความเครียด ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายการแปรผันตามการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ได้ร้อยละ 12.9 (R2 = 0.129)
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1877
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.56 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons