กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1878
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการก่อหนี้สินของครูชั้นประถมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the debt of primary school teachers in Muang District, Nonthaburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิญญา วนเศรษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พอพันธ์ อุยยานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุ่งทิวา เนตรหิน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
ครูประถมศึกษา
หนี้
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปและมูลเหตุจูงใจหนี้สินของครูชั้น ประถมศึกษา 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการก่อหนี้สินของครูชั้นประถมศึกษา 3) เสนอ แนวทางการแก้ไขปัญหาการก่อหนี้สินของครูชั้นประถมศึกษา การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่างจำนวน 320 คน คือ ครูชั้นประถมศึกษา ในเขต อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้จากการ สุ่มอย่างง่าย โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา บรรยายลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในรูปค่าร้อยละ และ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สมการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีหนี้สินเฉลี่ยมากกว่า 1,000,000 บาท สาเหตุของ หนี้สินตามความคิดเห็นของครูส่วนใหญ่ คือ ความต้องการส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 46.38 รองลงมา เป็นการใช้จ่ายในครอบครัว หรือ ใช้จ่ายในการศึกษาบุตร คิดเป็นร้อยละ 36.50 รายได้ไม่เพียงพอ ต่อรายจ่าย คิดเป็นร้อยละ 9.50 เรื่องที่อยู่อาศัย คิดเป็นร้อยละ 3.42 โดยแหล่งการเงินที่กู้ยืมของครู ส่วนใหญ่ คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู คิดเป็นร้อยละ 46.25 การผ่อนชำระหนี้สินเฉลี่ยต่อเดือนของ ครูส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 5,001 – 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 39.54 และสภาพรายรับกับรายจ่าย ของครูส่วนใหญ่ คือ รายรับไม่เพียงพอกับรายจ่าย คิดเป็นร้อยละ 76.56 ซึ่งจากการวิเคราะห์ พบว่าตัวแปรอิสระที่มีผลต่อปริมาณหนี้สินของครูชั้นประถมศึกษา ที่ระดับนัยสาคัญร้อยละ 5 ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้คู่สมรส ค่าใช้จ่ายการศึกษาบุตร และหนี้สินคู่สมรส ซึ่งแนวทางแก้ไข ปัญหาหนี้สินตามความคิดเห็นของครูส่วนใหญ่ คือ การขึ้นเงินเดือน หรือเพิ่มค่าตอบแทน คิดเป็น ร้อยละ 52.18 รองลงมาคือการให้รัฐบาลช่วยปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือไม่คิดดอกเบี้ย คิดเป็น ร้อยละ 41.25
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) )--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1878
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159652.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons