Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1879
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรกระบุรี จำกัด จังหวัดระนอง |
Other Titles: | Factors related to the service use of members of Kraburi Agricultural Cooperative Limited, Ranong Province |
Authors: | สุจิตรา รอดสมบุญ อติกานต์ วงษณรัตน์, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์การเกษตร--ไทย--ระนอง การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรกระบุรี จำกัด จังหวัดระนอง 2) ความคิดเห็นของสมาชิกสหกรณ์ต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาด 3) พฤติกรรมการใช้บริการของสมาชิกสหกรณ์ 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการของสมาชิกสหกรณ์ และ 5) ข้อเสนอแนะในการให้บริการ ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์การเกษตรกระบุรี จำกัด จังหวัดระนอง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41 – 50 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพทำส่วน ระยะเวลาการเป็นสมาชิกมากกว่า 10 ปีขึ้นไป รายได้ภาคเกษตร 10,000 – 20,000 บาท/เดือน รายจ่ายภาคการเกษตร ต่ากว่า 10,000 บาท/เดือน และมีหนี้สินทั้งหมดมากกว่า 30,000 บาท 2) ความคิดเห็นของสมาชิกสหกรณ์ต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดพบว่า สมาชิกมีระดับการตัดสินใจต่อการใช้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์/บริการ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย/การใช้บริการ ด้านบุคคล/เจ้าหน้าที่สหกรณ์ ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการส่งเสริมการตลาดการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง 3) พฤติกรรมการใช้บริการ พบว่า สมาชิกส่วนใหญ่ ซื้อสินค้า วัสดุ และอุปกรณ์ทางการเกษตร ปริมาณการซื้อสินค้าในแต่ละครั้ง 1,001 – 5,000 บาท ใช้บริการสหกรณ์ 1 – 3 ครั้ง/เดือน เหตุผลที่ใช้บริการของสหกรณ์คือ มีผลตอบแทนเฉลี่ยคืน และดอกเบี้ยเงินฝากสูง 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการใช้บริการ พบว่า เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ยต่อเดือน รายได้อื่นๆเฉลี่ยต่อเดือน รายจ่ายภาคการเกษตรเฉลี่ยต่อเดือน รายจ่ายอื่นๆเฉลี่ยต่อเดือน และด้านหนี้สิน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการ ส่วนความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมการใช้บริการ พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์/บริการ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย/การใช้บริการ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล/เจ้าหน้าที่สหกรณ์ ด้านลักษณะทางกายภาพ และ ด้านกระบวนการ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการ และ 5) ข้อเสนอแนะคือ สหกรณ์ควรเพิ่มการส่งเสริมการขาย เพิ่มสินค้าให้มีความหลากหลาย และเพิ่มจุดให้บริการกับสมาชิก เพื่อสามารถให้บริการแก่สมาชิกได้อย่างทั่วถึง |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1879 |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 21.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License