Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1903
Title: การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยเบาหวานจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลบ้านไผ่
Other Titles: A development of referral system from hospital to home for diabetes patients: a case study of Banphai Hospital
Authors: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวรรณา บุญยะลีพรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประกายทิพย์ เหล่าประเสริฐ, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาล -- การรับและการจำหน่ายผู้ป่วย
เบาหวาน -- ผู้ป่วย -- การดูแล
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยเบาหวานสู่ ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สภาพการณ์ของระบบส่งต่อ ก่อนพัฒนาระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้ การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยเบาหวาน และ ระยะที่ 3 การประเมินผลภายหลังนำระบบไปใช้โดยวัด ความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ผู้ให้ข้อมูลหลัก/กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ให้ บริการ 12 ราย ผู้ป่วยเบาหวาน 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิง คุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยในแต่ละระยะมีดังนี้ ระยะที่ 1 พบว่าขาดการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับอาการ และอาการแสดงของโรค และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งในขณะรักษาในโรงพยาบาล และในแบบบันทึกการส่งต่อผู้ป่วยไปยังศูนย์สุขภาพชุมชน ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการเยี่ยมบ้านอย่าง ต่อเนื่องหลังการจำหน่ายกลับบ้าน ระยะที่ 2 พัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยเบาหวานสู่ศูนย์สุขภาพ ชุมชน โดยการพัฒนาบุคลากรและประยุกต์แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดย ทีมสหสาขา วิชาชีพ รวมถึงประเมินการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานด้วยแบบสอบถาม การจัดทำทะเบียนการ ส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการติดตามเยี่ยมและส่งกลับมายังศูนย์ดูแลต่อเนื่อง และ ระยะที่ 3 พบว่า หลังจากมี การประเมินการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยแต่ละราย การกำหนดแนวทางการส่งต่อระหว่างทีมสุขภาพ และการจัดบุคลากร เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวในเรื่องการรับประทานอาหาร การใช้ยา การออก กำลังกาย ได้อย่างถูกต้อง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวาน ร้อยละ 70 มีระดับนั้าตาลในเลือดลดลง มีผู้ป่วย เบาหวาน จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 10 ของผู้ใช้บริการเท่านั้นที่ กลับมารักษซ้ำภายใน 28 วัน หลัง การจำหน่ายและผู้ให้บริการมีความพึงพอใจในระบบการดูแลผู้ป่วยในระดับมาก
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1903
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib118781.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.32 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons