กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1904
ชื่อเรื่อง: การผลิตและการตลาดอ้อยโรงงานแปลงเล็กในพื้นที่นาที่ไม่เหมาะสมของเกษตรกร ในพื้นที่อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Industrial sugarcane production and marketing in the small scale of inappropriate paddy rice area by farmers inKhumang District of Buri Ram Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทมล แก้วกล้า, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--บุรีรัมย์
อ้อย--การผลิต--ไทย--บุรีรัมย์
อ้อย--การตลาด
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตและการตลาดอ้อยของเกษตรกร (3) ความต้องการสนับสนุนด้านการผลิตและการตลาดอ้อยของเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรที่ศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 46.94 ปี ส่วนมากจบการศึกษาระดับประถมศึกษาปี 4 มีประสบการณ์ในการปลูกอ้อยเฉลี่ย 7.28 ปี เกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกของสมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดบุรีรัมย์ ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกลูกค้า ธกส. และได้รับการฝึกอบรมการปลูกอ้อยจากโรงงานน้าตาลบุรีรัมย์ เป็นสมาชิกชาวไร่อ้อยเฉลี่ย 6.85 ปี มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 20.71 ไร่ มีพื้นที่ปลูกอ้อยเฉลี่ย 11.62 ไร่ มีแรงงานในครัวเรือนที่ทำไร่อ้อยเฉลี่ย 2.23 คน ส่วนใหญ่มีอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตรในการทำไร่อ้อย อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก มีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 199,945.29 บาท/ปี มีรายได้จากการปลูกอ้อยเฉลี่ย 166,996.43 บาท/ปี มีรายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 40,109.29 บาท/ปี ส่วนใหญ่กู้เงินปลูกอ้อยจากโรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ เฉลี่ย 49,042.06 บาท มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 8,385.502 บาท/ไร่ มีผลผลิตเฉลี่ย 13.002 ตัน/ไร่ มีค่าความหวาน (C.C.S.) เฉลี่ย 12.82 ราคาผลผลิตเฉลี่ย 1,141.43 บาท/ตัน มีรายได้สุทธิ(กำไร)เฉลี่ย 6,448.49 บาท/ไร่ (2) เกษตรกรเกือบทั้งหมดปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ปลูกอ้อยในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์โดยใช้เครื่องปลูก ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเฉลี่ย 2.24 ครั้ง/ปี ตรวจแปลงอ้อยเฉลี่ย 9.41 ครั้ง/เดือน ไว้ตอได้ 3 ตอ ส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวโดยจ้างแรงงานตัดแล้วใช้รถคีบขึ้นรถบรรทุกและตัดอ้อยไหม้ไฟส่งโรงงานน้ำตาล ระยะทางจากแปลงอ้อยถึงจุดรับซื้อเฉลี่ย 13.27 กิโลเมตร มีการตรวจสอบราคาก่อนจำหน่าย (3) ความต้องการสนับสนุนของเกษตรกรในระดับมาก คือ การผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การปลูก การขายและการรับซื้ออ้อย การรวมกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง การจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพและราคาถูก (4) ปัญหาของเกษตรกรในระดับมาก คือ อุปกรณ์ ปุ๋ยเคมี สารเคมีและค่าจ้างแรงงานมี ราคาแพง ต้นทุนการผลิต/ไร่สูง เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้มีการรวมกลุ่มผู้ปลูกอ้อยในชุมชน สนใจใฝ่หาความรู้เทคโนโลยีการผลิตอ้อย ลดการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี และข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ อบรมให้ความรู้ในด้านการผลิตและการตลาดแก่เกษตรกรเพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น การปลูกอ้อยข้ามแล้ง การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เป็นต้น รณรงค์ส่งเสริมและตั้งมาตรการในการตัดอ้อยสดและสะอาดส่งโรงงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1904
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
142849.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons