Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1907
Title: การใช้ก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดสุรินทร์
Other Titles: Manure biogas utilization by small farmers in Surin Province
Authors: ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
มยุรา แซ่ฉั่ว, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ก๊าซชีวภาพ
เกษตรกร--ไทย--สุรินทร์
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ร้ายย่อยในจังหวัดสุรินทร์ที่ใช้ก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ (2) การใช้ก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์รายย่อยในจังหวัดสุรินทร์ และ (3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์รายย่อยในจังหวัดสุรินทร์ ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 47.32 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49.55 ปี ร้อยละ 44.64 เรียนจบระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.61 คน ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ก๊าซเป็นประจา เลี้ยงโคเฉลี่ยครัวเรือนละ 4.72 ตัว เลี้ยงกระบือเฉลี่ยครัวเรือนละ 3.52 ตัว มีการเก็บรวบรวมมูลสัตว์เฉลี่ย 9,802.68 กิโลกรัมต่อปี มีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 176,944.64 บาท/ปี มีรายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 74,778.37 บาท/ปี เกษตรกรมีหนี้สินที่ยังคงค้างจ่ายกับสถาบันการเงิน เฉลี่ยครัวเรือนละ 214,628.76 บาท โดยเกษตรกรสองในสามมีหนี้สินกับสถาบันธนาคาร (2) เกษตรกรทั้งหมดใช้พลังงานที่ได้จากบ่อหมักก๊าซชีวภาพ เป็นพลังงานในการหุงต้มในครัวเรือน ทำให้หลังจากมีการใช้ก๊าซชีวภาพ การใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในการหุงต้มของครัวเรือนลดลง เกษตรกรเปิดใช้ก๊าซเฉลี่ยวันละ 2.36 ครั้ง เฉลี่ย 66.03 นาทีต่อวัน ทั้งนี้ พบว่า บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบถุงหมัก PVC มีระยะเวลาในการเปิดใช้ก๊าซที่นานที่สุด เฉลี่ย 92.98 นาที ส่วนบ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบฝาครอบลอย มีระยะเวลาในการเปิดใช้ก๊าซที่นานที่สุด เฉลี่ย 74.33 นาที เกษตรกรร้อยละ 54.46 เห็นว่าก๊าซมีแรงดันในช่วงเย็นสูงกว่าช่วงเช้า เกษตรกรนากากที่เหลือจากการหมักก๊าซไปใช้เป็นปุ๋ยเป็นประจำโดยส่วนใหญ่ใช้เป็นปุ๋ยพืชผักในครัวเรือน (3) ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการผลิตและการใช้ก๊าซชีวภาพของเกษตรกร แบ่งเป็น 4 ด้าน และปัญหาที่เกษตรกรจานวนมากที่สุดประสบในแต่ละด้าน มีดังนี้ (1) ปัญหาด้านการติดตั้งบ่อก๊าซชีวภาพ คือ ปัญหาท่อบ่อเติม และท่อบ่อล้นเกิดการอุดตัน (2) ปัญหาด้านการใช้ก๊าซชีวภาพ คือ ปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้นไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในแต่ละวัน และ ก๊าซออกแต่จุดไฟติดบ้างไม่ติดบ้าง (3) ปัญหาด้านการนากากก๊าซไปใช้เป็นปุ๋ย คือ ปัญหากากมีลักษณะเหลวทำให้หกเลอะเทอะระหว่างขนกากไปใช้หรือไปตากให้แห้ง และ (4) ปัญหาด้านการบำรุงรักษาและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง คือ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองเมื่อบ่อก๊าซเกิดการชำรุดโดยปัญหาที่ประสบเหล่านี้อยู่ในระดับน้อยและน้อยที่สุด ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้คือควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการผลิตและการใช้ก๊าซชีวภาพ และควรมีการส่งเสริม สนับสนุนให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ใช้ก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรมีพลังงานใช้ในครัวเรือน และมีการใช้ปุ๋ยจากกากก๊าซในการทำการเกษตรเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี เป็นการส่งเสริมให้การเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้ นำไปสู่การทำการเกษตรอย่างยั่งยืน มีวิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ของตนเอง หรือชุมชนนั้นๆ ต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 255
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1907
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
142857.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.05 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons