กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1910
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to role performance of village agricultural volunteers in Chon Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ระพีภัทร์ เสริมสุขจิระโชติ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน--การทำงาน
อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน--ไทย--ชลบุรี
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคมปัจจัยทางเศรษฐกิจ และปัจจัยอื่นๆ ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดชลบุรี (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดชลบุรี (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดชลบุรี (4)เพื่อศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดชลบุรี ผลการวิจัยพบว่า (1) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดชลบุรีส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีอาชีพหลักเป็นอาชีพเกษตรกรรม มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน มีรายได้จากการประกอบอาชีพทางการเกษตรเฉลี่ย 337,555 บาทต่อปี และรายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 74,929 บาทต่อปี ส่วนมากมีพื้นที่ทาการเกษตรที่เป็นของ ตนเอง เกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร ได้รับข่าวสารเฉลี่ย 2.6 ครั้งต่อเดือน โดยได้รับข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมากที่สุด ได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติจากหน่วยงานในระดับปานกลาง มีแรงจูงใจในระดับมากต่อการปฏิบัติงาน (2) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง มีความพึงพอใจมากต่อการช่วยประชาสัมพันธ์ การขึ้นทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจ (ทพศ.) (3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดชลบุรีคือ การรับทราบข้อมูล /ข่าวสารด้านการเกษตร การได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติงานจากหน่วยงาน และความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงาน (4) ปัญหาในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดชลบุรีในภาพรวมระดับน้อย มีปัญหาด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของหมู่บ้าน ข้อเสนอแนะ ควรมีค่าตอบแทนในการปฏิบัติงาน และควรมีการจัดอบรมและให้ความรู้ความเข้าใจในการเก็บรวบรวมข้อมูล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1910
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
142861.pdfเอกสาณฉบับเต็ม15.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons