กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1916
ชื่อเรื่อง: | การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของเกษตรกร ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Asian honey bee (Apis cerana) culture by farmers in Sa Kaeo Sub-district, Tha Sala District, Nakhon Si Thammarat Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา โสภาวรรณ ลักษณา, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ผึ้งโพรง--ไทย--นครศรีธรรมราช--การเลี้ยง. |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเรื่องการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของเกษตรกรตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราชครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา (1) วิธีการจัดการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของเกษตรกร (2) แหล่งความรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของเกษตรกร และ (3) ข้อเสนอแนะของการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ผลการศึกษาพบว่า (1) การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยของเกษตรกรมีการใช้หลักการจัดการที่เป็นของชุมชนโดยการลองผิดลองถูกและการใช้ภูมิปัญญาในการประยุกต์ใช้ (2) เกษตรกรไม่ปฏิเสธความรู้เพิ่มเติมจากหน่วยงานราชการที่เข้าไปให้ความรู้ แต่เกษตรกรไม่สามารถปฏิบัติได้ในบางเรื่อง เช่น การเข้าคอนเนื่องจากเกษตรกรมีข้อจำกัดเรื่องอายุและวัสดุอุปกรณ์ เกษตรกรมุ่งเน้นการผลิตเพื่อประโยชน์ในเชิงเกษตรและนิเวศสมดุล ไม่เน้นปริมาณผลผลิต แต่ต้องการรายได้เพิ่มจากปริมาณที่จำกัดของน้ำผึ้งในแต่ละปี และความรู้เพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการขยายผลไปยังรุ่นลูกหลานและผู้ที่สนใจต่อไป (3) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ การเพิ่มเติมความรู้ในเรื่องการการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1916 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
143280.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22.48 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License