กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1920
ชื่อเรื่อง: | วัฒนธรรมเกษตรของชาวไทยพวน บ้านโภคาภิวัฒน์ ตำบลบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Agricultural culture of Thai Phuan in Ban Poka Piwat Bang Nam Chiao Sub-district, Phrom Buri District, Sing Buri Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา จุฑามาส จงศิริ, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ เกษตรกรรม--ไทย--สิงห์บุรี |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเรื่องวัฒนธรรมเกษตรของชาวไทยพวนบ้านโภคาภิวัฒน์ ตำบลบางน้าเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทชุมชน 2) ลักษณะ คุณค่า และความสำคัญของวัฒนธรรมด้านวัตถุที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม 3) ลักษณะ คุณค่า และความสำคัญของวัฒนธรรมด้านจิตใจที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม และ 4) แนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมเกษตร ผลการศึกษาพบว่า (1) ชาวไทยพวนบ้านโภคาภิวัฒน์มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ เมืองเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ 5 ตำบลบางน้าเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทยพวน นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (2) วัฒนธรรมด้านวัตถุที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมประกอบด้วย การบริโภค แบบแผนการประกอบอาชีพ สิ่งปลูกสร้างทางการเกษตร อุปกรณ์ทางการเกษตร (3) วัฒนธรรมด้านจิตใจที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ประเพณีส่วนบุคคล ได้แก่ การทำบุญกองข้าว/สู่ขวัญลาน/สู่ขวัญข้าว การไหว้เจ้าไร่เจ้านา และประเพณีส่วนรวม ได้แก่ ประเพณีกำฟ้า ประเพณีกวนข้าวทิพย์ ประเพณีสารทพวน (4) แนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมเกษตร แบ่งเป็น แนวทางการดำเนินงานของชุมชน ได้แก่ การอนุรักษ์เครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร การปลูกฝังวัฒนธรรมสู่คนรุ่นหลังตั้งแต่ยังเด็ก การถ่ายทอดและสร้างความเข้าใจวัฒนธรรมไทยพวนในโรงเรียน เปิดโอกาสให้คนรุ่นหลังมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ ผู้นำชุมชนมุ่งมั่นในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชน และแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานราชการ ได้แก่ การจัดทำเอกสารเพื่อประชาสัมพันธ์ จัดอบรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยพวน จัดโครงการเกี่ยวกับวัฒนธรรม สนับสนุนงบประมาณ และร่วมกับชุมชนตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1920 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
143282.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.89 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License