กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1923
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการนิเทศของผู้บริหารการพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors influencing supervisory management by nursing administrators at hospitals under the jurisdiction of the Ministry of Public Health, Bangkok Metropolitan |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา พูลสุข หิงคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา ทรงศรี สรณสถาพร, อาจารย์ที่ปรึกษา อังกาบ มณีธวัช, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข -- การบริหาร การพยาบาล -- การบริหาร ผู้บริหาร -- การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัย สภาพแวดล้อมในการบริหารจัดการการนิเทศของผู้บริหารการพยาบาล (2) ศึกษาระดับการบริหารจัดการการ นิเทศของผู้บริหารการพยาบาล และ (3) เพื่อศึกษาตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์การบริหารจัดการการนิเทศ ของผู้บริหารการพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มประชากร คือ ผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น ทื่ปฏิบัติงานในกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลด้านบุคคล แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยสภาพแวดด้อม และแบบสอบถามเกี่ยวกับ การบริหารจัดการการนิเทศทางการพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และวิเคราะห์ ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามด้านปัจจัย สภาพแวดล้อม เท่ากับ 0.89 และแบบสอบถามด้านการบริหารจัดการการนิเทศทางการพยาบาล เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความกี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเที่มีตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหาร มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ กับการบริหารจัดการการนิเทศทางการพยาบาลและระดับการศึกษามี ความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ กับการบริหารจัดการ การนิเทศทางการพยาบาล และการอบรม เพี่มเติมไม่มี ความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการการนิเทศทางการพยาบาล (2) ปัจจัยสภาพแวดล้อมของผู้บริหารการพยาบาล ด้านระบบการติดต่อสื่อสารอยู่ในระดับมาก ด้านโครงสร้างและนโยบาย และด้านการสนับสนุนจากผู้บริหารอยู่ ในระดับปานกลาง ซึ่งทั้ง 3 ด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการบริหารจัดการการนิเทศ ทางการพยาบาล (3) การบริหารจัดการการนิเทศของผู้บริหารการพยาบาลโดยรวม อยู่ในระดับมาก (4) ปัจจัย ส่วนบุคคลด้านอายุ และปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านระบบการติดต่อสื่อสาร สามารถร่วมทำนายการบริหารจัดการ การนิเทศของผู้บริหารการพยาบาลของโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เขต กรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 30.5 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552.ฃ |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1923 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib118788.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.96 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License