กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1927
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของเครือข่ายทีมสุขภาพของหมอครอบครัวระดับตำบล อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to operations of sub-district family doctor's health team networks in Nam Pat District, Uttaradit Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรางคณา จันทร์คง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมภน วรสร้อย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณทิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์
แพทย์ประจำบ้าน
ทีมสุขภาพ
การบริการทางการแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน และปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน (2) ระดับการดำเนินงานของเครือข่ายทีมสุขภาพของหมอครอบครัวระดับตำบล (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน และการสนับสนุนการดำเนินงานกับการดำเนินงานของเครือข่ายทีมสุขภาพของหมอครอบครัวระดับตำบล และ (4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินงานของเครือข่ายทีมสุขภาพของหมอครอบครัวระดับตำบล อำเภอน้าปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย มี 2 กลุ่ม คือ ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ เครือข่ายทีมสุขภาพหมอครอบครัวในอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพและทีมสุขภาพภาคประชาชนใน 13 ตำบล จำนวน 968 คน คำนวณตัวอย่างได้ 276 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือผู้บริหารในทีมสุขภาพหมอครอบครัว จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เจาะลึก และแบบสนทนากลุ่ม มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาท มีการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี การรับรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก การสนับสนุนการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (2) ระดับการดำเนินงานของเครือข่ายทีมสุขภาพของหมอครอบครัวในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของเครือข่ายทีมสุขภาพของหมอครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ รายได้ การรับรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน ปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน และ (4) ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญคือความขาดแคลนบุคลากรทีมสหวิชาชีพโดยเฉพาะแพทย์ ขาดแคลนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนเฉพาะ ข้อเสนอแนะ ควรสนับสนุนให้แพทย์จบใหม่ไปเรียนแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวได้เลยไม่ต้องรอใช้ทุน 3 ปี สนับสนุนงบประมาณและบุคลากรอย่างเพียงพอ และการบูรณาการการทำงานของทีมสหวิชาชีพ เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและช่วยประหยัดทรัพยากร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1927
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
156667.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons