กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1930
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวนาปรังของเกษตรกรในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดสุรินทร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to off-season rice production by farmers in Thung Kula Rong Hai Area of Surin Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัฐพล แก้วหานาม, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าวนาปรัง--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ของเกษตรกร (2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวนาปรังของเกษตรกร (3) ความต้องการการส่งเสริมความรู้ด้านการผลิต ข้าวนาปรังของเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตข้าวนาปรังของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 49.90 ปี มีสถานภาพสมรส ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.6 จบชั้นประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.98 คน เกษตรกรหนึ่งในสาม มีตาแหน่งทางสังคม เป็นกรรมการหมู่บ้าน/กลุ่มต่างๆ เกษตรกรเกินครึ่งเป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรโดย เป็นกลุ่มลูกค้า ธกส. มีประสบการณ์ในการผลิตข้าวนาปรัง เฉลี่ย 3.78 ปี ทั้งหมดประกอบอาชีพทานา มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.37 คน มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังเฉลี่ย 12.07 ไร่ ต้นทุนการผลิตข้าวนาปรังโดยเฉลี่ย 3,026.85 บาท/ไร่ ผลผลิตข้าวนาปรังเฉลี่ย 545.45 กิโลกรัม/ไร่ ราคาผลผลิตเฉลี่ย 9.82 บาท/กิโลกรัม และมีรายได้จากการผลิตข้าวนาปรังโดยเฉลี่ย 4,804.06 บาท/ไร่ (2)เกษตรกรเกือบครึ่งนิยมปลูกข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ปลูกโดยวิธีการหว่าน อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้เฉลี่ย 28.33 กิโลกรัม/ไร่ (3) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมความรู้การผลิตข้าวนาปรังในประเด็นการเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว การเตรียมดิน การปลูกและการดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษา และการตลาด โดยมีความต้องการการส่งเสริมในระดับมาก สื่อที่ใช้ในการส่งเสริมพบว่าเกษตรกรต้องการสื่อที่เป็นคู่มือในระดับมาก และวิธีการส่งเสริมพบว่าเกษตรกรต้องการวิธีการส่งเสริมโดยการบรรยาย การสาธิต และการฝึกปฏิบัติ ในระดับมาก ตามลาดับ (4) เกษตรกรมีปัญหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย แต่ประเด็นปัญหาเรื่องปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมีปัญหาในระดับมาก เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการผลิตข้าวนาปรัง สนับสนุนปัจจัยการผลิต และให้ช่วยเหลือเรื่องราคาผลผลิตข้าวนาปรัง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1930
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143295.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons