กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1933
ชื่อเรื่อง: การผลิตและการตลาดมะพร้าวของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Coconut production and marketing in Chumphon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
มัณฑนา ไทยละออง, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มะพร้าว--การผลิต
มะพร้าว--การตลาด
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตมะพร้าวของเกษตรกร (3) สภาพการผลิตมะพร้าวของเกษตรกร (4) สภาพการตลาดของเกษตรกร และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดมะพร้าวของเกษตรกร ผลการศึกษา พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ เฉลี่ย 54.08 ปี สมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 3.70 คน จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนต้น อาชีพหลักทาสวน ประสบการณ์ในการปลูกมะพร้าวเฉลี่ย 30.51 ปี มีพื้นที่ปลูกมะพร้าว เฉลี่ย 8.54 ไร่ อายุมะพร้าวเฉลี่ย 26.72 ปี จำนวนแรงงานที่ใช้ในการปลูกมะพร้าวเฉลี่ย 2.26 คน ส่วนใหญ่ไม่มีการจ้างแรงงาน รายได้จากมะพร้าว เฉลี่ย 83,317.54 บาท/ปี ต้นทุนในการผลิตมะพร้าวของเกษตรกร เฉลี่ย 3,049.41 บาท/ไร่/ปี ใช้เงินทุนของตนเองในการผลิตมะพร้าว เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารในการปลูกมะพร้าวในระดับค่อนข้างน้อย โดยส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรมากที่สุด (2) เกษตรกรมีความรู้ในการผลิตมะพร้าวระดับปานกลาง ส่วนใหญ่มีความรู้ในด้านการปลูก การดูแลรักษา ขาดความรู้ในด้าน การป้องกันกาจัดโรคแมลง การคัดเลือกสวนพันธุ์ (3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ปลูกเป็นพื้นที่ราบ ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทรายและดินร่วน สภาพน้าเป็นน้ำจืด พันธุ์มะพร้าวที่ปลูกเป็นพันธุ์ต้นสูงระยะปลูก 9 x 9 เมตร ส่วนใหญ่เกษตรกรเพาะพันธุ์เอง ไม่มีการให้น้า มีการใส่ปุ๋ยเคมี เฉลี่ย ปีละ 1 ครั้ง อัตรา 46.21 กิโลกรัมต่อไร่/ปี ส่วนใหญ่ปลูกมะพร้าวทดแทนต้นที่เสื่อมโทรม และบางส่วนมีการปลูกพืชแซม โรคและศัตรูมะพร้าวที่พบ ได้แก่ โรคผลร่วง โรคเอือนกิน ด้วงแรด ด้วงงวง แมลงดำหนาม หนอนหัวดำ หนู และกระรอก ส่วนใหญ่ใช้วิธีกลร่วมกับวิธีเขตกรรมและสารเคมี (4) ปริมาณผลผลิตมะพร้าวผลแก่เฉลี่ย 961.15 ผล/ไร่/ปี มะพร้าวให้ผลผลิตสูงสุดเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ความถี่ในการเก็บเกี่ยว 45 วัน/ครั้ง การจำหน่ายผลผลิต ส่วนใหญ่พ่อค้าเก็บเอง โดยใช้แรงงานสัตว์ (ลิง)ในการเก็บเกี่ยว และรับซื้อที่สวน การแปรรูปผลผลิตมะพร้าวมีน้อยมาก การจำหน่ายผลมะพร้าวส่วนใหญ่เป็นมะพร้าวผลแก่ ผู้กาหนดราคาผลมะพร้าวเป็นพ่อค้ารับซื้อทั่วไป (5) ปัญหาที่พบมาก ได้แก่ เกษตรกรขาดความรู้เรื่องการป้องกันกาจัดโรคแมลง การแปรรูปผลผลิตมะพร้าว ราคาผลผลิตตกต่า และปุ๋ยเคมีมีราคาสูง โดยเกษตรกรมีข้อเสนอแนะคือ อบรมให้ความรู้การป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูมะพร้าวและหาแนวทางการป้องกันกำจัดแมลงดำหนาม หนอนหัวดำ ด้วงแรด อย่างยั่งยืน ด้านราคาผลผลิตตกต่า สนับสนุนให้มีการแปรรูปผลผลิต การรวมกลุ่มเพื่อจาหน่ายผลผลิตมะพร้าวและจัดซื้อปุ๋ยเคมี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1933
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143318.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons