กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1936
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนากลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิในจังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Developmental guidelines for the groups of processing Hom Mali Rice products in Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิภาพร คานทอง, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ข้าวหอมมะลิ--การแปรรูป
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของคณะกรรมการกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิ (2) แนวทางการพัฒนากลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิ (3) ความคิดเห็นของคณะกรรมการเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีด้านการผลิตและการควบคุมคุณภาพการผลิต (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการในการพัฒนาการแปรรูปข้าวหอมมะลิ ผลการวิจัยพบว่า (1) คณะกรรมการกลุ่มมีอายุเฉลี่ย 45.03 ปี ส่วนใหญ่สมรสแล้ว จบการศึกษาประถมศึกษา ประกอบอาชีพทำนา รายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 84,822.95 บาท/ปี รายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 20,668.85 บาท/ปี รายจ่ายภาคการเกษตรเฉลี่ย 20,604.91 บาท/ปี หนี้สินเฉลี่ย 94,347.54 บาท/ครัวเรือน (2) แนวทางการพัฒนากลุ่มด้านการบริหารจัดการกลุ่ม ประกอบด้วย การจัดประชุมผู้นากลุ่มและสมาชิกกลุ่มอย่างสม่าเสมอ เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายของกลุ่ม กฎเกณฑ์และระเบียบข้อบังคับของกลุ่มต้องมีความยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ทันเหตุการณ์ การกำหนดกิจกรรมกลุ่มที่มาจากความต้องการของสมาชิก การติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม และการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกกลุ่ม รวมทั้งมีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับชุมชน ด้านการตลาด ต้องมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยตรงตามความต้องการของลูกค้า การคิดต้นทุนอย่างถูกต้องเพื่อกำหนดราคาสินค้า การนาสินค้าไปจำหน่ายและจัดแสดงในงานแสดงสินค้า การประชาสัมพันธ์และโฆษณาสินค้าผ่านสื่อ (3) ความคิดเห็นของคณะกรรมการเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีด้านการผลิตและการควบคุมคุณภาพการผลิต คณะกรรมการกลุ่มเห็นด้วยในระดับมากว่า ต้องมีสถานที่ตั้งตัวอาคารและบริเวณโดยรอบสะอาด ไม่มีน้ำขังแฉะและสกปรก พื้นฝาผนังและเพดานของอาคารที่ทาก่อด้วยวัสดุที่คงทนเรียบทำความสะอาดและซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดเวลา ภาชนะหรืออุปกรณ์ในการทำที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ทาจากวัสดุมีผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม ล้างทำความสะอาดได้ง่าย การเลือกข้าวเปลือกต้องมีคุณลักษณะตรงตามข้อกาหนด (4) ปัญหาในการพัฒนากลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ปัญหาด้านการบริหารจัดการกลุ่มการใช้เทคโนโลยีการผลิตและการควบคุมคุณภาพ และการตลาด โดยมีข้อเสนอแนะ ให้มีการจัดสรรผลประโยชน์ รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีศูนย์รวบรวมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1936
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143320.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons