กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1939
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาการจัดกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่สอดคล้องตามความต้องการของชุมชน กรณีศึกษาบริษัทผลิตอาหารสัตว์แห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of corporate social responsibility activities according to community needs : a case study of a feed production company in Lamphun Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศริศักดิ์ สุนทรไชย จันจิราภรณ์ จันต๊ะ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ--ไทย ปัญหาสิ่งแวดล้อม--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทผลิตอาหารสัตว์แห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน 2) ศึกษาการรับรู้และความต้องการของชุมชนโดยรอบบริษัทฯ 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและการรับรู้ด้านการจัดกิจกรรมการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมกับความต้องการของชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบบริษัทฯ และ 4) เสนอแนะแนวทางการจัดกิจกรรมการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ ตัวแทนบริษัทผลิตอาหารสัตว์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดลำพูน และชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบในรัศมี 2.5 กิโลเมตรและได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการของบริษัทฯ ได้แก่ หมู่บ้านและสถานประกอบการข้างเคียง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยง 0.824 เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบจากครัวเรือน ได้จำนวน 378 ตัวอย่าง และสัมภาษณ์เชิงลึกจากตัวแทนชุมชน จำนวน 9 คน และตัวแทนบริษัทฯ จำนวน 5 คน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ชุมชนส่วนใหญ่มีความเห็นว่า กลิ่นเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่พบมากที่สุดและกิจกรรมการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ ที่ผ่านมาไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนได้ และตัวแทนบริษัทฯ ให้ความเห็นว่าบริษัทฯ ได้มีการจัดกิจกรรมการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมาอย่างต่อเนื่องแต่อาจไม่ได้เน้นเฉพาะชุมชนกลุ่มเป้าหมายโดยรอบเท่านั้น 2) ชุมชนส่วนใหญ่ไม่รับรู้ต่อการจัดกิจกรรมการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมที่ผ่านมาของบริษัทฯและชุมชนมีความต้องการด้านการสนับสนุนชุมชนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตสูงสุด 3) การรับรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านการจัดกิจกรรมการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของชุมชนมีความสัมพันธ์กับความต้องการด้านการจัดการปัญหาเรื่องกลิ่นอย่างจริงจังและความต้องการให้บริษัทฯ มีส่วนร่วมกับชุมชนสูงที่สุด และ 4) ผลจากการวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ พบว่า นอกจากบริษัทฯ จะต้องพัฒนาระบบการบำบัดกลิ่นให้มีประสิทธิภาพแล้ว สิ่งหนึ่งที่ควรทำควบคู่ไปด้วยคือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทฯ และชุมชนโดยการดำเนินกิจกรรมตามแนวทางความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ซึ่งได้แก่ 1) การจัดเวทีให้ชุมชนและบริษัทฯ ได้มีโอกาสพูดคุยปรึกษากัน และ 2) นำวัสดุเหลือใช้จากบริษัทฯ มาสร้างประโยชน์หรือเพิ่มมูลค่าให้กับชุมชน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1939 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
156523.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.54 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License