กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1948
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขทางเศรษฐศาสตร์ในการทำงานของบุคลากร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting economics of happiness at work of the personnel in the Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัชรี ผาสุข
ธนวัฒน์ ฉิมม่วง, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน--ข้าราชการและพนักงาน--ความพอใจในการทำงาน
เศรษฐศาสตร์สวัสดิการ
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบความสุขทางเศรษฐศาสตร์ในการทํางานของบุคลากร และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขทางเศรษฐศาสตร์ในการทํางานของบุคลากร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 1,198 คน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 300 คน คำนวณโดยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ วิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา การจัดกลุ่มตัวแปรด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยแบบจําลองการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า (1) องค์ประกอบความสุขทางเศรษฐศาสตร์ในการทำงานด้านการเป็นที่ยอมรับมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก โดยมีความภูมิใจในตัวเองในฐานะที่เป็นบุคลากรสังกัด สพฐ. รองลงมาคือด้านสุขภาพ ได้แก่ การตรวจสุขภาพประจำปีและการรักษาพยาบาลและด้านรายได้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ (2) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า องค์ประกอบด้านการทํางานมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกต่อองค์ประกอบความสุขทางเศรษฐศาสตร์ โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐาน เท่ากับ 0.26 โดยปัจจัยด้านสุขภาพมีอิทธิพลสูงสุดต่อความสุขทางเศรษฐศาสตร์ในการทํางานของกลุ่มตัวอย่างมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐาน เท่ากับ 0.60 รองลงมาคือ ด้านสังคม (0.52) และด้านรายได้ (0.41) ตามลำดับ โดยแบบจําลองมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าความน่าจะเป็นของไค-สแควร์ มากกว่า 0.05
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1948
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons