กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1949
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing the quality of work life of professional nurses at both Regional Hospitals and General Hospitals under the Ministry of Public Health in the Southern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีนวล สถิตวิทยานันท์, 2495- อาจารย์ที่ปรึกษา
อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
อมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงษ์, 2497- อาจารย์ที่ปรึกษา
ประไพ ศรีแก้ว, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
พยาบาลวิชาชีพ -- ความพอใจในการทำงาน
พยาบาลวิชาชีพ -- ไทย -- ภาคใต้
คุณภาพชีวิตการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับคุณภาพชีวิต การทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวง สาธารณสุข เขตภาคใตั (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลการบริหารจัดการ และ ความเครียดในการทำงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ และ (3) ตัวแปรที่ร่วมกัน พยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตภาคใต้ จำนวน 363 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วนคือ ข้อมูลส่วนบุคคลการบริหารจัดการ ความเครียดในการทำงานและคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบถามผ่านการ ตรวจสอบความตรงตามเนี้อหาและวิเคราะห์หาความเที่ยงได้ เท่ากับ .97, .78 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ ค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับสูง (X = 3.59) (2) ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของ พยาบาลวิชาชีพ การบริหารจัดการมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล วิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .68) ความเครียดในการทำงานมีความสัมพันธ์ทาง ลบกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = - .33) และ (3) ตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การบริหารจัดการความเครียดในการทำงาน ตามลำดับ โดยร่วมกันพยากรณ์ ได้ ร้อยละ 49 (R2= .49)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1949
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib122086.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons