กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1950
ชื่อเรื่อง: การตัดสินใจในการเลือกพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Decision making in rice variety selection by farmers in Mueang District of Kamphaeng Phet Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปรียารัตน์ จอมดวง, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าว--พันธุ์--ไทย--กำแพงเพชร--การจัดซื้อ.
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว (2) สภาพการปลูกข้าวของเกษตรกร (3) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ข้าว (4) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้พันธุ์ข้าวของเกษตรกร และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์เพื่อการปลูกข้าวของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรที่ให้สัมภาษณ์มีทั้งเพศชายและเพศหญิง จานวนใกล้เคียงกัน อายุเฉลี่ย 48.29 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เกษตรกรทุกรายเป็นสมาชิกกลุ่มหรือสถาบันเกษตรกรและได้รับรู้ข่าวสารด้านการเกษตรผ่านนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 3.97 คน แรงงานครัวเรือนเฉลี่ย 2.33 คน พื้นที่ทำนาเฉลี่ย 31.36 ไร่ บาท รายจ่ายจากการทำนาต่อไร่เฉลี่ย 5,429 บาท รายได้จากการทำนาต่อไร่ เฉลี่ย 9,572.10 บาท มีกาไรจากการทำนาต่อไร่ เฉลี่ย 4,143 บาท เกษตรกรใช้เงินทุนของตนเองและกู้เงินจาก ธกส. (2) เกษตรกรส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์ในการทำนาไว้เพื่อบริโภคและจำหน่าย นิยมบริโภคข้าวขาวทั่วไป ทำนาทั้งนาปีและนาปรัง ปลูกข้าวโดยการหว่านในที่ราบลุ่มระบายน้ำได้ เป็นดินเหนียว ใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เกษตรกรทุกรายปลูกข้าวพันธุ์ส่งเสริมจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว นิยมปลูกพันธุ์พิษณุโลก 2 มากที่สุด เหตุผลในการเลือกพันธุ์ข้าวเกษตรกรส่วนใหญ่เลือกพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง ผลผลิตเฉลี่ย 771.21 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 24.51 กิโลกรัมต่อไร่ (3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับพันธุ์เมล็ดพันธุ์ข้าวอยู่ในระดับน้อย (4) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในระดับมาก ได้แก่ พันธุ์ข้าวที่ขายได้ราคาดี ทนทานต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืชและสภาพดินฟ้าอากาศ ให้ผลผลิตสูง เหมาะกับพื้นที่นา ผลตอบแทนที่ได้รับในปีที่ผ่านมา สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองได้ และเป็นที่ต้องการของตลาด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า มีตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามมี 9 ตัว (5) ปัญหาการใช้เมล็ดพันธุ์เพื่อการปลูกข้าวของเกษตรกรในภาพรวมมีปัญหาระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการเกษตร ควรมีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ข้าว การลดต้นทุนการผลิตข้าว และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรศึกษาหาความรู้ใหม่ เพื่อนาไปถ่ายทอดให้แก่เกษตรกร และติดตามการเพาะปลูกของเกษตรกรอย่างสม่าเสมอ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1950
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143713.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons