กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1951
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตรของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบางใหญ่ จำกัด จังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Purchasing behavior of Agricultural Inputs of Members of Bang Yai Agricultural Cooperative Limited, Nonthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุจิตรา รอดสมบุญ
อวยพร แซ่เฮง, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตรบางใหญ่--สมาชิก
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--นนทบุรี
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตรของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบางใหญ่ จํากัด 2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และ 4) ข้อเสนอแนะในการให้บริการ ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกของสหกรณ์การเกษตร บางใหญ่ จำกัด จำนวน 1,647 ราย ณ วันสิ้นปีบัญชี 31 ธันวาคม 2562 กลุ่มตัวอย่าง จำนวนตัวอย่าง 322 ราย ใช้การคำนวณจากสูตรทาโร่ ยามาเน่ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย การวิเคราะห์เชิงปริมาณ สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติร้อยละ 0.05 และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่สมาชิกสหกรณ์การเกษตร บางใหญ่ จํากัด เป็นเพศชาย อายุมากกว่า 50 ปี การศึกษาต่ากว่ามัธยมศึกษา ระยะเวลาการเป็นสมาชิก 5-10 ปี รายได้ภาคการเกษตร 10,000-15,000 บาทต่อเดือน รายจ่ายภาคการเกษตร 5,000-10,000 บาทต่อเดือน หนี้สินทั้งหมดต่ำกว่า 20,000 บาท และเนื้อที่ทําการเกษตร ต่ำกว่า 5 ไร่ ส่วนประสมการตลาดของสหกรณ์โดยรวมพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจําหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตรของสมาชิกสหกรณ์ พบว่า ส่วนใหญ่สมาชิกซื้อปุ๋ย 1,000-5,000 บาท ความถี่ในการซื้อ มากกว่า 4 ครั้งต่อปี และเหตุผลในการซื้อคือได้รับเงินเฉลี่ยคืน 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และระยะเวลาการเป็นสมาชิก 2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตรคือ รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ยต่อเดือน รายได้อื่นๆ เฉลี่ยต่อเดือน รายจ่ายภาคการเกษตรเฉลี่ยต่อเดือน รายจ่ายอื่นๆ เฉลี่ยต่อเดือน หนี้สินทั้งหมด และเนื้อที่ทำนา 3 ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตรคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจําหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ และ 4) ข้อเสนอแนะคือ ควรมีปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย ควรกำหนดราคาต่ำกว่าท้องตลาด การจัดวางผลิตภัณฑ์ควรแบ่งโซนแยกให้ชัดเจน ควรเพิ่มช่องทางการชำระเงิน และมีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ด้านปัจจัยการผลิตด้านการเกษตรเพื่อให้ความรู้แก่สมาชิก
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1951
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons