กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1959
ชื่อเรื่อง: การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในจังหวัดเลย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Technology adoption of the maize production by farmers in Loei Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
รานีย์ ท่าโพธิ์, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ข้าวโพด--การผลิต
เทคโนโลยีการผลิต--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (2) สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร (3) การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.04 ปี จบการศึกษาระดับ ประถมศึกษาตอนปลาย เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกข้าวโพดและกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีประสบการณ์การปลูกข้าวโพดเฉลี่ย 19.98 ปี ได้รับความรู้ข่าวสารจากผู้นาชุมชน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และการอบรม มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.61 คน เป็นแรงงานในครัวเรือน จ้าง และไม่เสียค่าจ้างเฉลี่ย 2.90 8.37 และ 10.04 คน ตามลำดับ มีพื้นที่ทาการเกษตรทั้งหมดและปลูกข้าวโพดเป็นของตนเองเฉลี่ย 40.18 และ 23.73 ไร่ ตามลาดับ ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 767.13 กิโลกรัม ราคาเฉลี่ย กิโลกรัมละ 6.53 บาท มีรายได้และรายจ่ายจากการปลูกทั้งหมดเฉลี่ยปีละ 117,593.06 และ 59,052.42 บาท ตามลำดับ (2) สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่ดินเป็นดินร่วน พื้นที่ลาดเอียง ไม่มีการเก็บตัวอย่างดินและการปรับปรุงบำรุงดิน การเตรียมดินมีการไถดะและไถพรวนอย่างละ 1 ครั้ง โดยปลูกด้วยเครื่องปลูก ในช่วงต้นฤดูฝน ใช้พันธุ์ลูกผสมของภาคเอกชนเฉลี่ยไร่ละ 2.94 กิโลกรัม ระยะปลูก 75 X 25 เซนติเมตร ไม่มีการถอนแยก การใส่ปุ๋ยเคมีรองก้นหลุมครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 เฉลี่ยไร่ละ 24.88 กิโลกรัม และการใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2 สูตร 46-0-0 เฉลี่ยไร่ละ 15.77 กิโลกรัม มีการใช้แรงงานคนและสารเคมีในการกาจัดวัชพืช แต่ใช้เฉพาะแรงงานคนในการเก็บเกี่ยวผลผลิต มีการคัดแยกฝักที่เสียออก และจะเก็บไว้ในยุ้งฉางก่อนแล้วจึงสีเป็นเมล็ดออกจำหน่าย และไม่มีการวัดความชื้นในเมล็ด (3) เกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีเชิงความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และส่วนน้อยมีการยอมรับนำไปปฏิบัติในประเด็นการไถระเบิดดินดาน การจัดหา แม่ปุ๋ยมาผสมใช้เอง การตากเพื่อคัดคุณภาพ การให้น้ำระยะออกดอกและสร้างเมล็ด การเก็บตัวอย่างดินส่งวิเคราะห์ การถอนแยกหลังงอก การโรยปุ๋ยครั้งที่ 2 ข้างแถวข้าวโพด และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนไถพรวน และ (4) เกษตรกร มีปัญหาในภาพรวมระดับปานกลาง และระดับมากที่สุดในเรื่องปัจจัยการผลิตมีราคาแพง แต่ราคาผลผลิตตกต่ำ โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการรวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1959
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143737.pdfเอกส่ารฉบับเต็ม14.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons