กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1966
ชื่อเรื่อง: การจำลองการรั่วไหล การลุกติดไฟ และการระเบิดของถังกักเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลว เพื่อจัดทำแผนรองรับเหตุฉุกเฉิน กรณีศึกษาบริษัทผลิตท่อร้อยสายไฟและอุปกรณ์ต่อเนื่อง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Simulations of leakage, combustion and explosion of a liquefied petroleum gas storage tank for emergency response planning : a case study of an electrical conduit and accessories manufacturing company
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริรัตน์ สุวณิชย์เจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีราภรณ์ นวเกล้า, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
น้ำมันรั่วไหล--การป้องกัน
การจัดการภาวะฉุกเฉิน
การศึกษาอิสระ--การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการรั่วไหล การลุกติดไฟ และการระเบิดจากถังกักเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลว และ (2) จัดทำร่างแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับการรั่วไหล การลุกติดไฟ และการระเบิดของก๊าซปิโตรเลียมเหลวของโรงงานผลิตท่อร้อยสายไฟและอุปกรณ์ต่อเนื่องแห่งหนึ่ง การศึกษานี้ได้จําลองสถานการณ์การรั่วไหล การติดไฟ และการระเบิดของถังกักเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวของบริษัทผลิตท่อร้อยสายไฟและอุปกรณ์ต่อเนื่อง ซึ่งมีลักษณะเป็นถังทรงกระบอก มีความยาว 2.92 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.68 เมตร วางในแนวนอนอยู่สูงจากพื้น 1 เมตร และมีการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว 85% ของถังกักเก็บ การจำลองเหตุการณ์จะใช้โปรแกรมอโลฮาในการประเมินการแพร่กระจาย และใช้แผนที่อิเล็กทรอนิกส์ในการแสดงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ผลจากการจําลองสถานการณ์ดังกล่าวจะนํามาใช้ในการจัดเตรียมร่างแผนฉุกเฉิน ผลการศึกษา พบว่า (1) ระยะทางไกลสุดจากถังเก็บกักที่ได้รับผลกระทบจากการจําลอง 3 สถานการณ์ได้ผลดังนี้ สถานการณ์ที่ 1 การเกิดกลุ่มหมอกไอระเหยสารพิษ พบว่า การกระจายของการรั่วไหลของก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ความเข้มข้นมากกว่า 5,500 พีพีเอ็ม (AEGL-1) จะครอบคลุมพื้นที่ในรัศมี 277 เมตร สถานการณ์ที่ 2 การเกิดกลุ่มหมอกก๊าซไวไฟ พบว่า ระยะที่พบค่าความเข้มข้นขั้นต่ำที่สามารถลุกติดไฟได้ 10% LEL) อยู่ในรัศมี 513 เมตร และสถานการณ์ที่ 3 การเกิดระเบิด พบว่า การแผ่รังสีพลังงานความร้อนในระดับที่มากกว่า 2.0 กิโลวัตต์ต่อตารางเมตร จะพบในรัศมี 415 เมตร และ (2) เมื่อพิจารณาระยะปลอดภัยในการอพยพออกจากสถานการณ์ดังกล่าว สามารถแบ่งแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินออกเป็น 3 ระดับดังนี้ ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 1 กรณีเกิดกลุ่มหมอกไอระเหยของสารพิษ กำหนดพื้นที่อพยพ คือ บริเวณลานจอดรถหน้าโรงงาน 1 ภาวะฉุกเฉิน ระดับที่ 2 กรณีเกิดเพลิงไหม้ขั้นรุนแรง กำหนดพื้นที่อพยพ คือ บริเวณด้านหน้าโรงงานข้างเคียง และภาวะฉุกเฉิน ระดับที่ 3 กรณีเกิดการระเบิด กำหนดพื้นที่อพยพ คือ บริเวณถนนปู่เจ้าสมิงพรายและไปยังจุดรวมพลที่สถานีตำรวจ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1966
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons