กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1969
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลโรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a nursing supervision model at Chiangkham Hospital Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีนวล สถิตวิทยานันท์
ญาณนี รัตนไพศาลกิจ, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ธัญรดี จิรสินธิปก
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลเชียงคำ--การบริหาร
การพยาบาล--ไทย--พะเยา
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการนิเทศ ทางการพยาบาล (2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าหอผู้ป่วยและรองหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ปฏิบัติงานอยู่ในหอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม ศัลยกรรม อายุรกรรม และกุมารเวชกรรม จำนวน 8 คน พยาบาลวิชาชีพประจำการที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยทั้ง 4 หอ จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชุด คือ (1) แบบสำรวจสภาพการณ์การนิเทศทางการพยาบาล (2) แบบทดสอบความรู้การนิเทศทางการพยาบาล (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้รับการนิเทศเกี่ยวกับประสิทธิภาพของรูปแบบ การนิเทศทางการพยาบาล และ (4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้นิเทศทางการพยาบาลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนี้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และเครื่องมือชุดที่ 2 ,3 และ 4 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75 0.98 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ทดสอบความต่างด้วยสถิติ t (paired I test) และ Wilcoxon matched - pair signed ranks test ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) การเตรียมผู้นิเทศ 2) การกำหนดข้อตกลง 3) การรับฟังปัญหา 4) การตรวจสอบความเข้าใจและวางแผน 5) การนำไปปฏิบัติ 6) การทบทวนประเมินผลและสะท้อนกลับข้อมูล (2) ความรู้เรื่องการนิเทศทางการพยาบาลของผู้นิเทศหลังการเสริมความรู้สูงกว่าก่อนเสริมความรู้ (3) ความคิดเห็นของผู้รับการนิเทศเกี่ยวกับประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลก่อน และหลังการใช้รูปแบบไม่แตกต่างกัน และ (4) ความคิดเห็นของผู้นิเทศเกี่ยวกับประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลหลังใช้รูปแบบมี ค่าเฉลี่ยอันดับที่มาตรฐานสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1969
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib124299.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons