Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1973
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 6 |
Other Titles: | Factors influencing health promotion competencies of professional nurses at Community Hospitals, Public health Inspection Region 6 |
Authors: | สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา ปวิมล ลิ้มสุทธาวรพงศ์, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ การส่งเสริมสุขภาพ -- ไทย พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน -- บริการส่งเสริมสุขภาพ -- ไทย |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงพรรณานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 6 (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล และการเสริมสร้างหลังอำนาจด้านจิตใจ ต่อสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 6 ประชากรคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ในงานห้องคลอด งานท้องผ่าตัด งานผู้ป่วยนอก งาน ผู้ป่วยใน งานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 6 จำนวน 2,401 คน สุ่ม ตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามขนาดโรงพยาบาล ได้กลุ่มตัวอย่าง 377 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัย สร้างขึ้นประกอบด้วย 3 ตอน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ และ 3) แบบสอบถามสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน คำนวณค่าดัชนีความตรงตามเนี้อหารายข้อ เลือกข้อที่มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 0.80 และทดสอบ ความเที่ยงกับกลุ่มที่มีลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน วิเคราะห์สัมประสิทธิ์อัลฟ่าของคอนบราค โดยได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามตอนที่ 2 และ 3 เท่ากับ 0.94 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุข ที่ 6 โดยรวมและรายด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ยกเว้น สมรรถนะด้านการบริหารจัดการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ สมรรถมะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ การสร้างเสริมพลังอำนาจด้านจิตใจ การเข้าร่วม ประชุม/อบรมเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ โดยสามารถร่วมกันทำนายสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 6 ได้ร้อยละ 54.9 ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถใชัเป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน โดยการเสริมสร้างพลังอำนาจทางด้านจิตใจ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1973 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib124360.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License