กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1986
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบบันทึกทางการพยาบาลในห้องคลอด โรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of a nursing record model for the delivery room at fort Suranari Hospital in Nakhon Ratchasima province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา วัลลภา บุญรอด, อาจารย์ที่ปรึกษา สุมิตรา มิ่งมิตร, 2501- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลค่ายสุรนารี การพยาบาล พยาบาล การทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบบันทึกทางการพยาบาล ใน ห้องคลอด โรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มเป้าหมายคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องคลอด โรงพยาบาลค่ายสุรนารี ทั้งหมด จำนวน 10 คน การวิจัยแบ่งเป็น3 ระยะ ได้แก่ (1) ศึกษาสถานการณ์การบันทึกทางการพยาบาล ในห้องคลอดโดยทบทวน วรรณกรรม สุ่มเวชระเบียนผู้คลอด จำนวน 30 ราย เพื่อประเมินความถูกต้องและสมบูรณ์ของบันทึกทางการพยาบาล และ สัมภาษณ์เจาะลึกพยาบาลวิชาชีพ 6 คน (2) พัฒนารูปแบบบันทึกทางการพยาบาลในห้องคลอด โรงพยาบาลค่ายสุรนารี โดยการจัดสนทนากลุ่ม 2 ครั้ง (3) นำรูปแบบไปทดลองใช้ในห้องคลอด โรงพยาบาลค่าย สุรนารี เป็นเวลา 3 เดือน ประเมินและปรับปรุงรูปแบบโดยการสนทนากลุ่มประเมินความสมบูรณ์ของบันทึก ทางการพยาบาล จากเวชระเบียนทุก 1 เดือน รวม 2 ครั้ง และ ให้พยาบาลวิชาชีพประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบบันทึกทางการพยาบาลก่อนและหลังการปรับปรุง เครื่องมือที่ใซ้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความสมบูรณ์ของบันทึกทางการพยาบาล ในเวชระเบียนซึ่งกองการพยาบาลโรงพยาบาลค่ายสุรนารี พัฒนาขึ้นและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบบันทึกทางการพยาบาลในห้องคลอด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ระยะที่ 1 แบบฟอร์มที่ใช้ในการบันทึกทางการพยาบาล ในห้องคลอดมี จำนวน มากเกินไป มีการบันทึกกิจกรรมการพยาบาลเดียวกันในหลายแบบฟอร์ม ขาดการมอบหมายผู้บันทึกในแต่ละ ขั้นตอนอย่างชัดเจน หัวข้อในแบบการวินิจฉัยและวางแผนการพยาบาลไม่ครอบคลุม และความสมบูรณ์ของบันทึก ทางการพยาบาลในเวชระเบียน เท่ากับร้อยละ 72.24 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กองการพยาบาลกำหนดไว้คือ รัอยละ 80 ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ ได้แก่ การกำหนดจำนวนแบบฟอร์ม การบันทึกให้คงเทลือ 4 แบบฟอร์ม ได้แก่ 1) แบบประเมินสภาพแรกรับ 2) แบบการวินิจฉัยและวางแผนการพยาบาล 3) แบบพาโทกราฟ และ ง) ใบสรุป ประวัติการคลอดโดยปรับหัวข้อในแบบวินิจฉัยและวางแผนการพยาบาล ให้ชัดเจน กำหนดผู้บันทึก ในแต่ละ ขั้นตอน ระยะที่ 3 การนำรูปแบบไปทดลองใช้ในห้องคลอดและปรับปรุง ผลการประเมินความสมบูรณ์ของ การบันทึกทางการพยาบาลในเวชระเบียนผู้คลอด หลังทดลองใช้ 2 ครั้ง พบว่า เพิ่มขึ้นเป็นรัอยละ 91.35 และ 93.43 ตามลำดับ และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบบันทึกทางการพยาบาลก่อนและหลัง การปรับปรุงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.21 เป็นร้อยละ 69.40 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1986 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib125072.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.43 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License