Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1996
Title: การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: Technology adoption of Oil palm production by framers in Don-Sak District of Surat Thani Province
Authors: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
กุลธิดา โอกฤษ, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ปาล์มน้ำมัน--การผลิต
ปาล์มน้ำมัน--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เกษตรกร--ไทย--สุราษฎร์ธานี
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร (3) การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันของ เกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตปาล์มน้ำ มันของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 52.77 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 หรือ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร ดำรงตำแหน่งทำงสังคมเป็นอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.41 คน ได้รับการส่งเสริมจากรัฐ ด้านความรู้ มีประสบการณ์ในการปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 7.23 ปี ประสบการณ์ฝึกอบรมเกี่ยวกับปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 1.84 ครั้ง อาชีพของครัวเรือนคือการทำสวนปาล์มน้ำมัน รองลงมาคือการทำ สวนยางพารา จำนวนแรงงานในครัวเรือนและแรงงานนอก ครัวเรือนที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 2 และ 1.55 คน ตามลำดับ พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดและพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 43.57 และ 23.37 ไร่ ตามลำดับ จำนวนต้นปาล์มน้ำ มันเฉลี่ย 22 ต้นต่อไร่ อายุต้นปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 7.45 ปี ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยต่อไร่ ต่อปี 2,384.88 กิโลกรัม ราคาขายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.01 บาท ในรอบปี ที่ผ่านมา (2555) มีรายได้จากปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 189,525.72 บาท รายได้จากการเกษตรอื่นนอกจากปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 248,819.88 บาท จำหน่ายผลผลิตให้แก่ลานเทเอกชน เกษตรกรทั้งหมดใช้ทุนตนเองในการปลูกปาล์มน้ำ มัน ระดับแรงจูงใจในการผลิตปาล์มน้ำ มันอยู่ในระดับมาก โดยมีแหล่งรับ ซื้อในพื้นที่ และความมั่นคงในการประกอบอาชีพ เป็นแรงจู งใจระดับมากที่สุด ระดับการได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ อยู่ในระดับปานกลาง โดยสื่อบุคคลอยู่ในระดับมากจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของรัฐและเพื่อนบ้าน (2) เกษตรกรส่วน ใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมันระดับมาก (3) เกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันเชิงความคิดเห็นใน ระดับมากในทุกประเด็น และมีการนำเทคโนโลยีไปปฏิบัติเกือบทุกประเด็น ยกเว้นประเด็นการจดบันทึก (4) เกษตรกรมีปัญหาการผลิต ปาล์มน้ำ มันในภาพรวมระดับปานกลาง โดยมีข้อเสนอแนะ คือ ต้องการให้รัฐประกันราคาผลผลิต สนับสนุนปุ๋ยราคาถูก และเงินทุน จัดหา ปาล์มพันธุ์ดีราคาถูก มีเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องปาล์มน้ำ มนโดยตรง และการวิจัยประโยชน์จากต้นปาล์มน้ำมัน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1996
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
144254.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.94 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons