กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1997
ชื่อเรื่อง: การผลิตไก่เนื้อของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Broiler production process by framers in Phetchabun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ไพรัช ทองขัน, 2520-
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ไก่เนื้อ--การผลิต
เกษตรกร--ไทย--เพชรบูรณ์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ (2) สภาพการผลิตไก่เนื้อของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ (3) ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงไก่เนื้อของเกษตรกร (4) ความพึงพอใจต่อการส่งเสริมการผลิตไก่เนื้อแก่เกษตรกร และ (5) ปัญหาของเกษตรกรในการเลี้ยงไก่เนื้อ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้ออายุเฉลี่ย 46.97 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.1 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.58 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทาไร่ รายได้ภาคการเกษตรนอกเหนือจากการเลี้ยงสัตว์ เฉลี่ย 100,0000 บาทต่อปี ในขณะที่รายจ่ายในภาคเกษตร เฉลี่ย 433,330.51 บาทต่อปี (2) ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อของเกษตรกร มีขนาดเฉลี่ย 6.42 ไร่ และ 1.56 โรงเรือน ลักษณะโรงเรือนทั้งหมดเป็นโรงเรือนแบบปิด จำนวนการเลี้ยงเฉลี่ย 19,648.31 ตัว เกษตรกรมีประสบการณ์ในการเลี้ยงโดยเฉลี่ย 10.64 ปี ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงแบบมีพันธสัญญากับบริษัท ระยะการเลี้ยงเฉลี่ย 37.79 วัน พักเล้าในแต่ละรอบการเลี้ยงเฉลี่ย 26.79 วัน อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ส่วนใหญ่ได้มาจากบริษัทที่มีพันธสัญญากัน (3) ต้นทุนปัจจัยผลิตไก่เนื้อเฉลี่ย 1,523,703.39 บาทต่อรุ่น ผลตอบแทนในการเลี้ยงเฉลี่ย 1,819,917.42 บาทต่อรุ่น รายได้จากการเลี้ยงภายหลังจากหักต้นทุนแล้วพบว่าร้อยละ 73.7 ได้กาไร มีเกษตรกรบางรายประสบปัญหาขาดทุน หรือรายได้ไม่แน่นอน (4) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการส่งเสริมการผลิตไก่เนื้อในระดับมาก ทางด้านการจัดการการผลิตไก่เนื้อ และมีความพึงพอใจระดับปานกลาง ทางด้านของการจัดการโรงเรือนและคู่มือการจัดการฟาร์ม (5) ปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ ประกอบด้วย ปัญหาด้านคุณภาพของลูกไก่ อาหาร ที่ตั้งและโรงเรือน แหล่งเงินทุน ระบบสาธารณูปโภค และความรู้ในการเลี้ยงไก่เนื้อ ซึ่งปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมาอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอื่นๆ ได้แก่ ต้นทุนและผลตอบแทน การตลาดและราคาซื้อขายไก่สดในท้องตลาด การเกิดโรค และโรคระบาด และการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นปัญหาระดับน้อย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1997
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144257.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons