Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2003
Title: | การปลูกถั่วพร้าเพื่อปรับปรุงบำรุงดินของเกษตรกรทำนา อำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ |
Other Titles: | Jack bean Plantation for Soil Fertility Improvement by Rice Farmers in Non Narai District of Surin Province |
Authors: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา ประภาภรณ์ คูสูงเนิน, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ถั่วพร้า--การปลูก ถั่วพร้า--การปรับปรุงดิน |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรทำนา (2) สภาพการปลูกถั่วพร้าเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน(3)ความรู้ความเข้าใจในการปลูกถั่วพร้าเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน (4)ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปลูกถั่วพร้าเพื่อปรับปรุงบำรุงดินของเกษตรกรทำนำผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรมากกว่าครึ่งหนึ่งเล็กน้อยเป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 54.23 ปี เกษตรกรประมาณสองในสามจบการศึกษาภาคบังคับ เกษตรกรสามในสี่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกรโดยมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน เกษตรกรเกือบครึ่งมีประสบการณ์ในการปลูกถั่วพร้า 2 ปี สื่อที่เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับความรู้คือ หมอดินอาสา และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.97 คน มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 18.68 ไร่ มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 16.75 ไร่ในปีการผลิต 2556/2557 มีรายได้จากการทำนาเฉลี่ย 6,430.04 บาทต่อไร่ และมีรายจ่ายจากการทำนาเฉลี่ย 3, 042.09 บาทต่อไร่ (2) เกษตรกรทั้งหมดปลูกถั่วพร้าหลังการทำนาและไถกลบถั่วพร้าหลังจากการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์แล้วเสร็จโดยเกือบทั้งหมดปลูกถั่วพร้าโดยวิธีการหว่าน มีอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 12.47 กิโลกรัมต่อไร่ พื้นที่ปลูกถั่วพร้าเฉลี่ย 5.39 ไร่พบว่าเกษตรกรประมาณสองในสามไถดะ1ครั้งก่อนปลูกถั่วพร้าเกษตรกรมากกว่าครึ่งไถปั่นละเอียด1ครั้งหลังปลูกถั่วพร้าและเกษตรกรสองในสามมีการไถทั้งก่อนและหลังปลูกถั่วพร้าโดยเก็บเกี่ยวถั่วพร้าเมื่ออายุเฉลี่ย 132.53 วัน ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วพร้าเฉลี่ย 81.78กิโลกรัมต่อไร่ (3) เกษตรกรส่วนมากมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกถั่วพร้าอยู่ในระดับมากและไม่มีเกษตรกรที่มีความรู้อยู่ในระดับน้อย (4) โดยภาพรวมเกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการปลูกถั่วพร้าในระดับปานกลางปัญหาที่พบมากคือถั่วพร้าไม่ติดฝัก รองลงมาคือเมล็ดพันธุ์มีจำนวนจำกัด ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ต้นถั่วพร้าแคระแกรนเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ขาดความรู้ความเข้าใจในการเตรียมดินอย่างถูกวิธี ดังนั้นหมอดินอาสา เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรประสานความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการปลูกถั่วพร้าอย่างถูกต้องและเหมาะสม สนับสนุนเมล็ดพันธุ์และส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้กับเกษตรกรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2003 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
144577.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License