กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2006
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพการผลิตลำไยอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Potentials in Organic Longan Production of Farmers in Tak Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรกมล ศรีจริยา, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ลำไย--การผลิต--ไทย--ตาก
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทำงสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย (2) ศักยภาพในการผลิตลำไยตามระบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร และ (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตลำไยตามระบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ผลการศึกษา พบว่า (1) เกษตรกรที่ให้ข้อมูลส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.75 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ากว่า มีประสบการณ์ในการผลิตลำไยเฉลี่ย 13.61 ปี จานวนสมาชิกที่อาศัยอยู่จริงในครัวเรือนเฉลี่ย 3.61 คน เกือบกึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกลำไยและประกอบอาชีพทำสวน พื้นที่ทำการเกษตรเป็นของตนเองเฉลี่ย 15.79 ไร่ ส่วนใหญ่ได้รับความรู้ด้านการเกษตรจากญาติพี่น้อง เพียงหนึ่งในสามมีประสบการณ์การฝึกอบรมและศึกษาดูงานการผลิตพืชตามระบบเกษตรอินทรีย์ (2) ส่วนใหญ่มีแรงงานการเกษตรในครัวเรือนจำนวน 1-2 คน ในภาพรวมเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชตามระบบเกษตรอินทรีย์อยู่ในเกณฑ์มาก เจตคติของเกษตรกรต่อการผลิตลำไยตามระบบเกษตรอินทรีย์ อยู่ในระดับมากที่สุด การปฏิบัติของเกษตรกรที่สอดคล้องกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรปฏิบัติเป็นประจำ จำนวน 6 ประเด็น ปฏิบัติเป็นบางครั้ง จำนวน 3 ประเด็น และไม่ปฏิบัติ จำนวน 5 ประเด็น (3) เกษตรกรปัญหาในการผลิตลำไยตามระบบเกษตรอินทรีย์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลำง โดยเกษตรกรมีปัญหาในระดับมาก ใน 3 ประเด็น โดยเรียงตามลำดับ ได้แก่ ปัจจัยและแรงงานในการผลิตลำไย ศัตรูลำไยและการป้องกันกำจัด และ หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ปัญหาในระดับปานกลาง คือ การตลาดและคุณภาพผลผลิตลำไย และปัญหาในระดับน้อยที่สุด คือ สภาพดินและน้าในการผลิตลำไย ข้อเสนอแนะของเกษตรกรโดยภาพรวม มีความต้องการในการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตลำไยตามระบบเกษตรอินทรีย์มากที่สุดในทุกประเด็น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2006
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144583.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons