กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2008
ชื่อเรื่อง: การผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในจังหวัดบึงกาฬ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Oil palm production and marketing by farmers in Buengkan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินตนา ศรีตะวัน, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ปาล์มน้ำมัน--การผลิต
ปาล์มน้ำมัน--การตลาด--ไทย--บึงกาฬ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร (3) สภาพการตลาดปาล์มน้ำมันของเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในจังหวัดบึงกาฬ ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.97 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา เป็นสมาชิกกลุ่มหรือสถาบันเกษตรกร แหล่งความรู้ในการผลิตปาล์มน้ำมัน คือ เพื่อนเกษตรกร จำนวนสมาชิกในครัวเรือนและเป็นแรงงานเกษตรเฉลี่ย 4.08 คน และ 2.49 คน ตามลาดับ รายได้จากการทำสวนปาล์มน้ำมัน เฉลี่ย 49,039.55 บาท ในพื้นที่เฉลี่ย 12.86 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,421.90 กิโลกรัมต่อไร่ (2) สภาพการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร ลักษณะพื้นที่เป็นที่ลุ่ม สภาพดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว อยู่นอกเขตชลประทาน ทุกรายปลูกพันธุ์เทเนอร่า ส่วนใหญ่ซื้อพันธุ์ปาล์มจากศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน ระยะปลูก 9 x 9 เมตร ในระยะก่อนให้ผลผลิตมีการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราปุ๋ยเฉลี่ย 1.83 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี โดยวิธีหว่านเฉลี่ย 2.04 ครั้งต่อปี ในระยะหลังให้ผลผลิตมีการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราเฉลี่ย 2.01 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี โดยวิธีหว่านเฉลี่ย 1.98 ครั้งต่อปี ไม่มีระบบการให้น้ำ มีการตัดแต่งทางใบเมื่อปาล์มน้ำมันอายุ 4 ปี ขึ้นไป หรือเมื่อเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรก แล้วนาทางใบที่ตัดแต่งมาจัดเรียงรอบโคนต้นหรือกองไว้บริเวณแถวของต้น เก็บผลปาล์มน้ำมันที่ร่วงหล่นอยู่บริเวณโคนต้น และทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์โดยลับให้คมเสมอ มีการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชและวัชพืชโดยการเขตกรรม ในการเก็บเกี่ยวเดือนละ 2 ครั้ง ใช้แรงงานตนเอง โดยการใช้เสียมแทงทะลายที่มีอายุไม่เกิน 8 ปี (3) สภาพการตลาดปาล์มน้ำมัน เกษตรกรส่วนใหญ่รับทราบความเคลื่อนไหวทางด้านราคาและข่าวสารการตลาด ตลอดจนไปปรึกษาปัญหาการตลาดจากเพื่อนเกษตรกร และรับทราบข้อมูลในครัวเรือนจากโทรทัศน์ ความสุกของผลปาล์มน้ำมันมีผลต่อราคา วิธีการจัดการกับผลผลิตเมื่อราคาตกต่าคือการต่อรองราคา เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันนามาขายให้กับลานเทสหกรณ์ในรูปผลทะลายปาล์มสดสภาพเดิมไม่ได้ตัดแต่ง โดยผู้ซื้อซึ่งเป็นตัวแทนจากโรงงานสกัดน้ำมันจะเป็นผู้กาหนดราคาขาย เกณฑ์การพิจารณาในการขายคำนึงถึงความสะดวกและต้นทุนในการขนส่ง (4) ปัญหาการผลิตและการตลาดในการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในภาพรวมระดับปานกลาง และระดับมาก ตามลาดับ โดยปัญหาการตลาดระดับมากที่สุด คือ ราคาตกต่าไม่มีเสถียรภาพ ปัญหาการตลาดระดับมาก ได้แก่ การคัดเกรดทาได้ยากเพราะไม่มีมาตรฐาน ข้อมูลข่าวสารด้านการตลาดไม่ทั่วถึง ไม่มีการกำหนดราคาตามคุณภาพ และแหล่งรับซื้อปาล์มน้ำมันอยู่ห่างไกลและมีน้อย โดยมีข้อเสนอแนะให้มีแหล่งและโรงงานรับซื้อผลผลิตในชุมชนมากขึ้น ราคาควรจะมีเสถียรภาพและมีการประกันราคา มีมาตรฐานให้กับแหล่งรับซื้อของกลุ่มสหกรณ์ และมีการวางแผนการการตลาด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2008
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144586.pdfเอกสาณฉบับเต็ม16.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons