กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2014
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์ภาคเหนือ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting risk management of medication errors by professional nurses at regional hospitals in the Northern Region |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา ปริศนา นวลบุญเรือง, อาจารย์ที่ปรึกษา วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล, อาจารย์ที่ปรึกษา จันทนา แก้วฟู, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ การบริหารความเสี่ยง ยา -- การบริหาร พยาบาลวิชาชีพ -- ไทย (ภาคเหนือ) |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารความเสี่ยงด้าน ความคลาดเคลื่อนทางยาเจตคติในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา และภาระงานของของพยาบาลวิชาชีพ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาภาวะงาน กับ การบริหารความเสี่ยง ด้านความคลาดเคลื่อนทางยาของพยาบาลวิชาชีพ และ (3) ศึกษาตัวแปรที่ร่วมกันทำนายการบริหารความเสี่ยง ด้านความคลาดเคลื่อนทางยาของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์ภาคเหนือ จำนวน 249 คน ซึ่งได้จาก การสุ่มตัวอย่างเชิงเดียว เครึ่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล การบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยา เจตคติในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา และภาระงาน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนึ้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ค่าความเที่ยงแบบสอบถามส่วนที่ 2-4 โดย ใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.94, 0.96 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์ สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยามีค่าเฉลี่ยของคะแนน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เจตคติในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยามีค่าเฉลี่ยของคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด และภาระงานมีค่าเฉลี่ยของคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) เจตคติในการป้องกันความคลาดเคลื่อน ทางยามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง และภาระงามมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับน้อยที่สุด กับการ บริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) เจตคติในการป้องกัน ความคลาดเคลื่อนทางยาสามารถทำนายการบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาของพยาบาลวิชาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของการบริหารความเสี่ยงด้านความ คลาดเคลื่อนทางยาได้ร้อยละ 31.3 (R2= 0.313) และสามารถสร้างสมการทำนายในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ การบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยา = 18.045+1.166 เจตคติในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2014 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib128841.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License