Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2015
Title: การพัฒนาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: Operational development of Commuity enterprises in Phrom Phiram District of Phitsanulok Province
Authors: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
จารุวรรณ บุญลอย, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
วิสาหกิจชุมชน--ไทย--พิษณุโลก
ธุรกิจขนาดย่อม--การจัดการ
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานของวิสาหกิจชุมชน (2) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน (3) เปรียบเทียบการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนแต่ละระดับ (4) ปัญหาที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน และ (5) แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ (1) วิสาหกิจชุมชนระดับดี สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.23 ปี จบชั้นประถมศึกษา ประกอบอาชีพทำนา และสาเหตุที่ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่ เพราะต้องการรายได้เสริม รายได้รวมของครัวเรือนภาคเกษตรเฉลี่ย 158,140.00 บาท รายได้รวมครัวเรือนนอกภาคเกษตรเฉลี่ย 75,812.00 บาท รายจ่ายรวมครัวเรือนภาคเกษตรเฉลี่ย 100,410.00 บาท(2) วิสาหกิจชุมชนระดับปานกลาง สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51.78 ปี ส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษา ประกอบอาชีพทำนา และสาเหตุที่ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม เพราะต้องการรายได้เสริม รายได้รวมของครัวเรือนภาคเกษตรเฉลี่ย 190,575.51 บาท รายได้รวมครัวเรือนนอกภาคเกษตรเฉลี่ย 52,280.48 บาท รายจ่ายรวมครัวเรือนภาคเกษตร เฉลี่ย 121,337.50 บาท (3) วิสาหกิจชุมชนระดับต้องปรับปรุง สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51.60 ปี จบชั้นประถมศึกษา ประกอบอาชีพทำนา และสาเหตุที่ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม เพราะต้องการความรู้ รายได้รวมของครัวเรือนจากภาคเกษตรเฉลี่ย 224,057.69 บาท รายได้รวมของครัวเรือนนอกภาคเกษตรเฉลี่ย 57,638.29 บาท 2) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน 3) วิสาหกิจชุมชนทั้ง 3 ระดับ มีความคิดเห็นด้านการพัฒนาแตกต่างกัน ทางด้านบริหารวิสาหกิจชุมชน การจัดการความรู้และข้อมูลข่าวสาร การบริหารสมาชิกวิสาหกิจชุมชน กระบวนการจัดการสินค้าหรือบริการ และผลลัพธ์การดาเนินงานวิสาหกิจชุมชน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ทางด้านการวางแผนการดาเนินงานและการบริหารตลาด 4) วิสาหกิจชุมชนระดับดีมีปัญหาในน้อยที่สุด รองลงมาคือระดับปานกลาง และระดับต้องปรับปรุงตามลาดับ (5) ข้อเสนอแนะคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนในด้านต่างๆ ตามความต้องการหรือปัญหา เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนเกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพตามศักยภาพของแต่ละวิสาหกิจชุมชน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2015
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
144591.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.46 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons