Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2019
Title: การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือของกลุ่มสาระงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแตล สำนักงานเขตพื้นที่ การประถมศึกษาสุรินทร์เขต 1
Other Titles: Cooperative learning and teaching process of the Occupational and technology course (Agriculture) at Prathom Suksa 5 in Ban Tael School of Surin Primary Educational Service office Area 1
Authors: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุ่นใจ ศรีแก้ว, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกรรม--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพโดยทั่วไปของนักเรียน ผู้ปกครอง และครูที่รับผิดชอบการงานอาชีพงานเกษตร (2) การมีส่วนร่วมของนักเรียนและผู้ปกครองในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนวิชางานเกษตร (3) ความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และครูที่มีต่อการเรียนการสอนวิชางานเกษตร (4) ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิชางานเกษตรสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนทั้งหมดได้รับความรู้ด้านการเกษตรเป็นอย่างดี และส่วนใหญ่ช่วยดูแลครอบครัวในการดูแลไม้ดอกไม้ประดับและผัก ผู้ปกครองที่ให้ข้อมูลเป็นเพศหญิงเกือบทั้งหมด ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างและค้าขาย ประมาณสองในสามจบการศึกษาระดับประถมศึกษา ครูที่รับผิดชอบการงานอาชีพเกษตรทั้งหมดทำหน้าที่สอนภาคทฤษฎี และส่วนใหญ่ดูแลการฝึกปฏิบัติด้วย (2) สำหรับการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนนั้น นักเรียนส่วนใหญ่ร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียนเป็นอย่างดี มีส่วนร่วมในระดับปานกลางเกี่ยวกับกิจกรรมกลุ่มและการดูแลแปลงเกษตร สำหรับการวางแผนกิจกรรม มีส่วนร่วมค่อนข้างน้อย สำหรับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนั้น มีส่วนร่วมในระดับปานกลางในเรื่อง การวางแผนกิจกรรมและการสนับสนุนนักเรียนทำกิจกรรมที่บ้าน (3) ความต้องการที่มีต่อการเรียนการสอนวิชางานเกษตร นักเรียนมีความต้องการความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือการเกษตร ผู้ปกครองต้องการให้การการสื่อสารระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองในการทำกิจกรรม ครูต้องการเพิ่มความรู้ด้านการเกษตร และวัสดุอุปกรณ์การเกษตร (4) นักเรียนมีปัญหาในเรื่องการขาดสถานที่และอุปกรณ์การฝึกทักษะทางการเกษตร ส่วนครูมีพบปัญหาในการจัดการเรียนการสอน คือ นักเรียนบางกลุ่มยังขาดการจัดการภายในกลุ่ม สมาชิกขาดความรับผิดชอบ จึงขอเสนอแนะให้มีการประสานงานกันภายในกลุ่มมากขึ้น และมีการลงโทษนักเรียนที่ไม่ทำงานกลุ่ม
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2019
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
144602.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.47 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons