Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2020
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนประถมศึกษาของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 6 |
Other Titles: | Factors related to the implementation of dental health promotion in primary schools students of dental assistants in Health Region 6 |
Authors: | นิตยา เพ็ญศิรินภา อัญชนา กิจแก้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พรทิพย์ กีระพงษ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --วิทยานิพนธ์ ทันตกรรมเด็ก การดูแลทันตสุขภาพ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนประถมศึกษา (2) ปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมพลังอำนาจ และการสนับสนุนของโรงพยาบาลแม่ข่าย (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมพลังอำนาจ และการสนับสนุนของโรงพยาบาลแม่ข่าย กับการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนประถมศึกษา และ (4) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ในการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนประถมศึกษา เขตสุขภาพที่ 6 ประชากรที่ศึกษา คือเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานประจำที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตสุขภาพที่ 6 จำนวน 334 คน กลุ่มตัวอย่าง 200 คน ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนของ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในแต่ละจังหวัด เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีความเที่ยง เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) การดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนประถมศึกษาอยู่ในระดับสูง (2) ปัจจัยส่วนบุคคลของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 30.97 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ปฎิบัติงานในตำแหน่งข้าราชการ ได้รับการฝึกอบรมในรอบ 1 ปี ร้อยละ 40.0 การเสริมพลังอำนาจและการสนับสนุนของโรงพยาบาลแม่ข่าย อยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนประถมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ การเสริมพลังอำนาจ และการสนับสนุนของโรงพยาบาลแม่ข่าย และ (4) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพ ในเด็กนักเรียนประถมศึกษาตามมุมมองของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 6 ที่สำคัญ คือ การกรอกข้อมูลซ้าซ้อน ระบบการเก็บข้อมูลไม่เป็นมาตรฐาน ผู้ช่วยงานทันตกรรมมีจำนวนไม่เพียงพอ และให้ข้อเสนอแนะ ว่าควรมีโปรแกรมในการเก็บข้อมูลงานที่มีมาตรฐาน และจัดสรรงบประมาณในการทำเรื่องจ้างผู้ช่วยงานทันตกรรม |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารโรงพยาบาล))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2020 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
163630.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License