Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2021
Title: | การผลิตและการตลาดมะระหวานของเกษตรกรในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ |
Other Titles: | Chayote production and marketing by farmers in Khao Kho District of Phetchabun Province |
Authors: | สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา พีรพล สุธงษา, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มะระหวาน--การผลิต มะระหวาน--การตลาด |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตและการตลาดมะระหวานของเกษตรกร (3) การปฏิบัติตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร และ (4) ปัญหาและความต้องการการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตและการตลาดมะระหวานของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุเฉลี่ย 49.48 ปี จบชั้นประถมศึกษาหรือต่ากว่า รายได้จากการปลูกมะระหวานเฉลี่ย 362,321.40 บาท/ปี พื้นที่ปลูกมะระหวานเฉลี่ย 2.19ไร่ แรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.18 คน ประสบการณ์ปลูกมะระหวานเฉลี่ย 7.95 ปี ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 47,410.65 บาท/ไร่/ปี เกษตรกรที่เก็บยอดมีรายได้สูงสุดเฉลี่ย 183,011.18 บาท/ไร่/ปี เกษตรกรที่เก็บผลมีต้นทุนการผลิตต่าสุดเฉลี่ย 28,949.13 บาท/ไร่/ปี เกษตรกรที่เก็บทั้งผลและยอดมีกำไรสูงสุดเฉลี่ย 135,925.07 บาท/ไร่/ปี (2) พื้นที่ปลูกมะระหวานเป็นทั้งที่ราบและลาดชันบนเนินเขา ใช้น้ำจากลำห้วย ลำคลอง และสระน้ำ เกษตรกรเริ่มปลูกมะระหวานตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปูนขาวในการปรับปรุงบำรุงดิน มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนพื้นที่ปลูกเป็นประจำทุกครั้ง เริ่มเก็บเกี่ยวผลอ่อนได้เมื่ออายุเฉลี่ย 103.08 วัน และยอดอ่อนอายุเฉลี่ย 55.27 วัน ไม่มีการคัดเกรดก่อนจำหน่าย จำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อถึงแปลง ผลอ่อนมีราคาต่าสุดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายน สูงที่สุดในช่วงเดือนธันวาคมและมกราคม ยอดอ่อนมีราคาต่ำสุดเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน และราคาสูงสุดคือเดือนธันวาคมและมกราคม (3) เกษตรกรมีการปฏิบัติตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเป็นประจำ ยกเว้นการจดบันทึกข้อมูล (4) เกษตรกรส่วนมากไม่ประสบปัญหาด้านการผลิตและการตลาด มีส่วนน้อยที่มีปัญหา เรื่องดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ภัยธรรมชาติ และความแปรปรวนของสภาพอากาศ เกษตรกรต้องการเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตเฉลี่ย/ไร่ให้สูงขึ้น ต้องการการขอรับการรับรองมาตรฐานตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และการขอการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2021 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
144726.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License