กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2022
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการดำเนินงานของโครงการธนาคารพันธุ์ข้าวตำบลบ้านหัน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Farmers' opinions toward the operations of Banhun Sub-district Rice Seeds Bank Project, in Sikhio District, Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กำจัด โทรัตน์, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
โครงการธนาคารพันธุ์ข้าวตำบลบ้านหัน--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารพันธุ์ข้าวตำบลบ้านหัน (2) ความคิดเห็นของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกต่อการดำเนินงานของโครงการธนาคารพันธุ์ข้าวตำบลบ้านหัน (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการธนาคารพันธุ์ข้าว ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54.09 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ทำนาเป็นอาชีพหลัก มีประสบการณ์การทำนาเฉลี่ย 30.45 ปี มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.23 คน แรงงานจ้างเฉลี่ย 5.02 คน เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เฉลี่ย 15.80 ไร่ เกือบทั้งหมดปลูกข้าวแบบนาหว่าน นอกจากกู้ยืมเมล็ดพันธุ์ข้าวในโครงการฯ มีเกษตรกรเกือบครึ่งหนึ่งใช้เมล็ดพันธุ์ที่เก็บเอง โดยไม่จัดทำ แปลงเพาะ และมีเล็กน้อยที่ทดสอบความงอกโดยการจัดทำแปลงเพาะขนาดเล็ก เกษตรกรมีรายได้จากการทำนาในฤดูกาลที่ผ่านมาเฉลี่ย 78,958.72 บาท รายได้อื่นๆ ในปีที่ผ่านมา 125,992.70 บาท มีหนี้สินเฉลี่ย 192,931.37 บาท โดยกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมากที่สุด เกษตรกรเกินกว่าครึ่งใช้เงินทุนตนเอง ในการทำนา เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยอบรมและศึกษาดูงานเกี่ยวกับการทำนา ได้รับข้อมูลข่าวสารของโครงการจากการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของชุมชน ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ เพราะได้กู้ยืมเมล็ดพันธ์ข้าวที่มีคุณภาพ (2) เกษตรกรเห็นด้วยกับข้อกำหนดของโครงการฯ ในระดับมาก เรียงลาดับการเห็นด้วยจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) ด้านวัตถุประสงค์ 2) ด้านหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและข้อกาหนด และ 3) ด้านที่ทาการโครงการฯ และเกษตรกรเห็นด้วยกับการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ ในระดับมาก เรียงลาดับการเห็นด้วยจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) ด้านเมล็ดพันธุ์ข้าว 2) ด้านบทบาท/ภารกิจ ที่ได้ดาเนินการที่ผ่านมา 3) ด้านคณะกรรมการ และ 4) ด้านการบริหารงาน (3) เกษตรกรเห็นว่าข้อกาหนดของโครงการฯ มีปัญหาระดับน้อย เรียงลำดับปัญหาจากน้อยไปมาก ดังนี้ 1) ด้านวัตถุประสงค์ 2) ด้านที่ทำการโครงการฯ และ 3) ด้านหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและข้อกำหนด และเกษตรกรเห็นว่าการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ มีปัญหาระดับน้อย เรียงลำดับปัญหาจากน้อยไปมาก ดังนี้ 1) ด้านเมล็ด พันธุ์ข้าว 2) ด้านบทบาท/ภารกิจ ที่ได้ดำเนินการที่ผ่านมา 3) ด้านคณะกรรมการ และ 4) ด้านการบริหารงาน ส่วนข้อเสนอแนะ เกษตรกรเสนอว่าควรดำเนินการอย่างจริงจังกับสมาชิกที่ผิดนัดและไม่ส่งคืนค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวต้นทุนมากที่สุด รองลงมาเสนอว่า ควรจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวที่หลากหลายพันธุ์ไว้ให้สมาชิกกู้ยืม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2022
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144728.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons