กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2024
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการจัดการความรู้ของผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing knowledge management process among community hospital leaders at Nakhon Pathom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรทิพย์ กีระพงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พาณี สีตกะลิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอกลักษณ์ เอี่ยมประดิษฐ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --วิทยานิพนธ์
การบริหารองค์ความรู้
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยคุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งเสริมการจัดการความรู้ และปัจจัยองค์กรของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐม (2) กระบวนการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐม (3) อิทธิพลของปัจจัยคุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งเสริมการจัดการความรู้ และปัจจัยองค์กรต่อกระบวนการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐม และ (4) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐม ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับต้นของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐม จำนวน 8 แห่ง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม 2562 ประชากรทั้งหมดรวม 136 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงในหมวดคุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งเสริมการจัดการความรู้ องค์กร และกระบวนการจัดการความรู้ของผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชน เท่ากับ 0.927, 0.957 และ 0.956 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบ (1) คุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งเสริมการจัดการความรู้ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น ด้านการประสานงานและการทำงานเป็นทีม และด้านการนำองค์กร ที่อยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยองค์กรของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐมในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านวัฒนธรรมองค์กรและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่อยู่ในระดับมาก (2) กระบวนการจัดการความรู้ในหน่วยงานในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านการบ่งชี้ความรู้ และด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ อยู่ในระดับมาก (3) ตัวแปรพยากรณ์กระบวนการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐมได้แก่ คุณลักษณะที่ส่งเสริมการจัดการความรู้ การสนับสนุนจากผู้บริหาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวแปรทั้ง 3 สามารถทำนายกระบวนการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐมได้ร้อยละ 62.3 (R2 = 0.623) โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ การสนับสนุนจากผู้บริหาร รองลงมา คือ คุณลักษณะที่ส่งเสริมการจัดการความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ และ (4) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครปฐมที่สำคัญคือ ปัญหาด้านโครงสร้างองค์กร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารโรงพยาลบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2024
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
163624.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons