กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2028
ชื่อเรื่อง: ความรับผิดของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท : ศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดทางวินัยกับความรับผิดทางละเมิด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Liability of teachers and education personnel for negligence in performing duties : a comparative study of disciplinary liability and tort liability
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กมลชัย รัตนสกาววงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมคิด สวาสุ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน --วิทยานิพนธ์
ครู--การปฏิบัติโดยมิชอบ--ไทย
บุคลากรทางการศึกษา--การปฏิบัติโดยมิชอบ
ความรับผิดของราชการ--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดทางวินัย และ ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการ (2) ศึกษาถึงความรับผิดของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทโดยศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดทางวินัยกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (3) ศึกษากฎหมายประเทศอังกฤษ เยอรมัน และฝรั่งเศสที่เกี่ยวข้องเปรียบเทียบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กับ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (4) วิเคราะห์ปัญหาความรับผิดของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (5) เสนอแนวทางปรับปรุง ข้อกฎหมายเกี่ยวกับหลักความรับผิดทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม งานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้าตัวบทกฎหมายจากกฎหมายวินัยข้าราชการ กฎหมายระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กฎหมายความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตำรา หนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาศาลฎีกาและศาลปกครองไทย และ เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า (1) ความรับผิดทางวินัยและละเมิดของเจ้าหน้าที่มีเจตนารมณ์แตกต่างกัน (2) ความรับผิดทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของไทยใช้หลักการเดียวกันกับวินัยข้าราชการและกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (3) เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศพบว่า หลักความรับผิดทางวินัยและทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ยังมีความแตกต่างบางประการ (4) ความรับผิด ทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณีกระทำโดยประมาทในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เมื่อพิจารณาถึงลักษณะของความประมาทเลินเล่อและผลของการกระทำบางกรณีกลับมีบทลงโทษที่รุนแรงมาก ไม่เป็นธรรมต่อเจ้าหน้าที่ และ (5) ควรวางหลักการลงโทษทางวินัยให้เหมาะสมกับลักษณะของการกระทำ จึงจะเกิดความเป็นธรรมต่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทำนองเดียวกับหลักความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2028
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
163619.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons